วันนี้ 18 สิงหาคม 2565 จากกรณีที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการ ไปศึกษาผลดีผลเสียควบรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมินเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC
ล่าสุด คณะอนุกรรมการด้านเทคโนโลยี ได้เสนอผลการศึกษาแผนควบรวมธุรกจิระหว่าง TRUE-DTAC มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ เรื่อง ความเห็นด้านเทคโนโลยี กรณีการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หน่วยงานเจ้าของเรื่อง คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์กรณีการรวมธุรกิจระหว่าง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่ จำกัด (มหาชน) ด้านเทคโนโลยี
ข้อเสนอเพื่อพิจารณา
ความเป็นมา
โดยมีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาผลกระทบทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการรวมธุรกิจระหว่างทั้งสองบริษัทอย่างรอบด้าน พิจารณาผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวงจำกัดและรายงานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และเสนอ
การวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยี
ขั้นตอนการวิเคราะห์ด้านเทคโนโลยี มีดังนี้
วิเคราะห์เกี่ยวกับเลขหมายโทรคมนาคม
รูปแบบแนวทางการรวมธุรกิจและการครอบครองคลื่นความถี่ของแต่ละบริษัท
คณะอนุกรรมการๆ ด้านเทคโนโลยี พิจารณาแนวทางการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท TRUE และ บริษัท DTAC ภายใต้เงื่อนไขการครอบครองคลื่นความถี่ที่อาจเป็นไปได้ในรูปแบบต่างๆ ระหว่าง พ.ศ. 2565 – 2568 โดยแยกกรณีคลื่นความถี่ที่จะจัดสรรใหม่ในอนาคตออกจากขอบเขตการพิจารณานี้ เนื่องจากไม่สามารถทราบได้อย่างแน่ชัดถึงผลการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ในอนาคต ทั้งนี้ สามารถแบ่งรูปแบบแนวทางการรวมธุรกิจที่อาจเป็นไปได้ ดังนี้
- ให้บริษัทในเครือ คือ บริษัท TUC และบริษัท DTN รวมคลื่นความถี่ทั้งหมดได้
- สามารถย้ายคลื่นความถี่ที่อยู่ห่างกัน คือ คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800MHz มาอยู่ติดกันได้ (Reshuffle)
- ให้บริษัทในเครือ คือ บริษัท TUC และบริษัท DTN รวมคลื่นความถี่ได้บางส่วน
- ให้คืนคลื่นความถี่ย่าน 700 MHz และ 2100 MHz ในส่วนที่เกินจากเพดานคลื่น
ความถี่ (Spectrum Cap) ที่กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ของแต่ละย่าน
การใช้งานในระยะสั้นในกรณีการเติบโตขั้นต่ำ และมีแนวโน้มไม่เพียงพอในกรณีที่มีการเติบโตของอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบในด้านของบริการ (Service) กรณีให้รวมธุรกิจ และไม่ให้รวมธุรกิจ
นอกเหนือจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริษัท TRUE มีการลงทุนให้บริการในรูปแบบอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องอย่างหลากหลายรูปแบบในลักษณะ Multi-Services รูปแบบการให้บริการอื่นๆ ของบริษัท TRUEประกอบไปด้วย บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบประจำที่ (fixed broadband) บริการโทรศัพท์ประจำที่บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก รวมถึงบริการสายเคเบิ้ลใต้น้ำ ขณะที่บริษัท DTAC มีบริการหลักเพียงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น และไม่ได้มีการลงทุนให้บริการในรูปแบบอื่นๆ เพิ่มเติมอย่างชัดเจนแต่อย่างใด
สำหรับบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (จำกัด) มหาชน (AIS) ก็ได้มีการลงทุนให้บริการใน
การวิเคราะห์ในด้านของบริการ (Service) ของผู้ใช้บริการประชาชนทั่วไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : ข้อเสนอคณะอนุกรรมการกฎหมาย , เศรษฐศาสตร์ และ คุ้มครองผู้บริโภค