สะกิดรัฐ พบข้อสงสัยต้องรีบเตือนและป้องกัน ก่อน "โอไมครอน" ระบาดไทย

05 ธ.ค. 2564 | 08:04 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ธ.ค. 2564 | 17:58 น.

"หมอธีระ" เตือนรัฐ การแพร่ระบาดของโอไมครอน ต้องเฝ้าระวังและป้องกันทันที หากพบข้อสงสัยต้องรีบดำเนินการ เผย ECDC ประเมินอีกไม่กี่เดือนระวังโอไมครอนระบาดยุโรปหนัก ย้ำคนไทยการ์ดอย่าตก

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความเป็นห่วง การแพร่ระบาดของเชื้อโอไมครอน (Omicron) ว่า ขณะนี้ ทาง ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (European Centre for Disease Prevention and Control : ECDC) ได้ออกเอกสารวิชาการที่ประเมินภาวะคุกคามของโอไมครอน (Omicron) ต่อประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป 

สะกิดรัฐ พบข้อสงสัยต้องรีบเตือนและป้องกัน ก่อน \"โอไมครอน\" ระบาดไทย

สาระใจความสำคัญคือ ประเมินว่าโอไมครอน จะมีความเสี่ยงต่อการระบาดกระจายในทวีปยุโรปเป็นวงกว้างในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โดยระดับความเสี่ยงสูงถึงสูงมาก (High to very high level)

สะกิดรัฐ พบข้อสงสัยต้องรีบเตือนและป้องกัน ก่อน \"โอไมครอน\" ระบาดไทย

อีกประการที่รายงานนี้ระบุ และสำคัญมากคือ แนะนำให้มีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยรายงานเคส เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ เคสที่ตรวจยืนยันทางพันธุกรรมแล้ว (confirmed case) และเคสที่เป็นไปได้ (probable case) ซึ่งตรวจพบ S-gene drop out หรือ S-gene target failure รวมถึงคนที่มีประวัติสัมผัสกับคนที่ติดเชื้อโอไมครอน หรือแม้แต่สัมผัสกับคนที่เป็น probable case ก็ตาม

สะกิดรัฐ พบข้อสงสัยต้องรีบเตือนและป้องกัน ก่อน \"โอไมครอน\" ระบาดไทย

ด้วยข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าประเทศพัฒนาแล้วมีความเข้มงวดจริงจังกับระบบเฝ้าระวัง และการรายงานเคสมาก ไม่ได้รอจนผลตัดสินเป็นถึงที่สุดแล้วค่อยมารายงาน แต่วิกฤติที่มีภาวะคุกคามที่มีความเสี่ยงสูงมากเช่นนี้ จำเป็นต้องมีระบบเฝ้าระวังและรายงานที่มีความไวสูง โดยรายงานถึงเคสที่สงสัย หรือมีความเป็นไปได้ที่จะติดเชื้อด้วย หากพิสูจน์แล้วไม่ใช่ ก็ค่อยตัดออกไปภายหลัง

นี่จึงจะถือเป็นระบบที่เน้นความปลอดภัยสำหรับประชาชนในประเทศ และเป็นประเด็นที่ทุกประเทศรวมถึงประเทศไทย นำมาพิจารณาดำเนินการโดยเร็ว

สะกิดรัฐ พบข้อสงสัยต้องรีบเตือนและป้องกัน ก่อน \"โอไมครอน\" ระบาดไทย

นอกจากนี้ หมอธีระ ยังอัพเดต เกี่ยวกับเชื้อโอไมครอนอีกว่า ข้อมูลจากการติดตามสายพันธุ์ที่ระบาดในแอฟริกาใต้ของ GISAID สะท้อนภาพที่ชัดเจนว่า โอไมครอน นั้นครองการระบาดแทนที่เดลต้าอย่างรวดเร็ว

 

การติดตามลักษณะการติดเชื้อนั้นชี้ให้เห็นสอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกว่า มีการติดเชื้อโอไมครอน ในผู้ที่เคยมีประวัติติดเชื้อโรคโควิด-19 มาก่อน หรือที่เรียกว่า การติดเชื้อซ้ำ (Reinfection) มากกว่าการระบาดของสายพันธุ์ก่อนๆ ไม่ว่าจะเป็นเบต้า หรือเดลต้าก็ตาม ถึงประมาณ 2.4 เท่า

 

ข้อมูลจาก Trevor Bedford, FHCRC และทีมนักวิชาการอื่นๆ ชี้ให้เห็นว่า การระบาดในแอฟริกาใต้ของโอไมครอนนั้น เดิมเดลต้าครองพื้นที่อยู่แต่อยู่ในช่วงขาลงก็จริง แต่การที่ โอไมครอน ระบาดขยายวงอย่างรวดเร็ว ก็แสดงถึงศักยภาพการแพร่เชื้อของมันที่เหนือกว่าเดลต้า โดยจะเกิดจากคุณสมบัติในการแพร่ง่ายขึ้น (R0 มากขึ้น) หรือจะมาจากความสามารถในการดื้อต่อภูมิคุ้มกัน (ไม่ว่าจะจากวัคซีน และ/หรือจากที่เคยติดเชื้อมาก่อน) ก็ตาม ซึ่งคงต้องรอผลการวิจัยว่าจะมาจากเหตุใดกันแน่ และเหตุใดมากว่ากัน

สะกิดรัฐ พบข้อสงสัยต้องรีบเตือนและป้องกัน ก่อน \"โอไมครอน\" ระบาดไทย

รายงานล่าสุดจาก Medical Research Council ของประเทศแอฟริกาใต้ พยายามสรุปลักษณะผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน ในช่วงสองสัปดาห์แรกของการระบาด (14-29 November 2021) ในอำเภอ Tshwane ซึ่งอยู่ในจังหวัด Gauteng ที่มีการระบาดมาก ชี้ให้เห็นข้อมูลว่า คนติดเชื้อมีอายุเฉลี่ยน้อยกว่าเดิม โดย 80% อายุน้อยกว่า 50 ปี และมีถึง 19% (ราวหนึ่งในห้าของทั้งหมด) ที่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี 

 

ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลค่อนข้างสั้น 2.8 วัน ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 8.5 วัน จากระลอกก่อนๆ ในรอบ 18 เดือนที่ผ่านมา และมีอัตราการป่วยโดยต้องการใช้ออกซิเจนราว 21% ซึ่งลดลงกว่าเดิม

 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่พบว่ามีอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจำเป็นจะต้องติดตามดูต่อไป เนื่องจากนี่เป็นเพียงภาพโดยคร่าวเพียงแค่สองสัปดาห์แรกของการระบาด และการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตนั้นอาจต้องใช้เวลาประเมินหลังจากนี้ไปอีกหลายสัปดาห์

 

...สำหรับประชาชนไทย ขอให้ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัดเป็นกิจวัตร ใส่หน้ากากเสมอ และเว้นระยะห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร