จะเข้าสู่ปีใหม่แล้ว คิดว่าหลายคนวางแผนที่จะไปทำบุญที่วัด หรือสวดมนต์ข้ามปีทั้งที่วัดและทางออนไลน์หรือที่บ้านกันบ้างแล้ว แต่เพื่อความเป็นสิริมงคลในการก้าวเข้าสู่ปีใหม่เริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ จะมีใครรู้บ้างว่าในปีใหม่แต่ละครั้ง จะมีวัฒนธรรม วิถีความเชื่อของแต่พื้นที่แต่ละหมู่บ้านหรือแต่ละครอบครัว ในเรื่องของการรับประทานอาหารที่มีชื่อมงคลเพื่อให้เราเริ่มต้นชีวิตในปีนั้นๆจากสิ่งที่ดีๆ (ต้องบอกก่อนว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคลและเป็นวิถีชีวิตของแต่ละพื้นที)
“ฐาน ละ มู” จะพาไปรู้จักวิถีหรือความเชื่อของคนเฒ่าคนแก่ที่ส่งต่อมายังลูกหลานเกี่ยวกับอาหารที่นิยมทำในช่วงปีใหม่ให้คนในครอบครัวได้รับประทาน ทั้งนี้เชื่อว่าอาหารที่จะกล่าวถึง หลายบ้านหลายคนต้องเคยรับประทานหรือเคยทำทานมานับไม่ถ้วนและอาจจะรู้ความหมายดีๆของอาหารเหล่านี้แล้ว
ยำหนุน/แกงหนุน
ขนุนหรือมะหนุน บ่าหนุน ในภาษาเหนือ เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดเดิในภูมิภาคเอเชียใต้ ซึ่งมีการสันนิฐานกันว่าน่าจะอยู่ในอินเดีย ก่อนจะมาแพร่กระจายพันธุ์ไปยังพื้นที่อื่นๆรวมถึงไทยด้วยซึ่งสามารถพบได้ทุกภาคของไทย
ทั้งนี้ขนุนจัดว่าเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการรับประทาน เนื้อขนุนมีรสหวานสามารุนำไปแปรรูปเป็นขนุนหรือเป็นส่วนผลผสมของขนมหวานต่างๆได้ เช่น รวมมิตร ขนุนอบแห้ง เป็นต้น ส่วนขนุนอ่อนนั้น ในภาคเหนือและภาคอีสานนิยมนำมาทำแกงและยำ เช่น แกงขนุนใส่กระดูดหมู ตำหนุน หรือต้มขนุนอ่อนรับประทานกับน้ำพริกดำ เป็นต้น
ดังนั้นในภาคเหนือบางพื้นที่บางชุมชนหรือบางบ้าน จะนิยมนำขนุนมาประกอบอาการในช่วงใกล้ปีใหม่หรือช่วงต้นปีใหม่ หรือในเทศกาลสงกรานต์ เพราะมีความเชื่อว่า หากรับประทานอาหารที่เกี่ยวกับหนุน จะช่วยให้ชีวิตในด้านต่างๆมีคนหนุนคนนำ ด้านการงานเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ลูกน้องให้การสนับสนุน จะทำอะไรก็มีคนค่อยช่วยเหลือเกื้อหนุนจุนเจือ มีความรุ่งโรจน์ในชีวิต ปีใหม่นี้ใครมองหาอาหารรับประทานเสริมดวงชีวิต เมนูขนุนอาจจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของใครหลายคนในช่วงปีใหม่นี้
ถัดมาอาหารที่จะกล่าวถึงไม่ได้เลยและมีความหมายดีอีกอย่างหนึ่ง คือ กล้วยและกล้วยเป็นไม้ผลที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย หนึ่งในนั้น คือ แกงหยวกกล้วย (อาหารทางเหนือ)
กล้วยเป็นไม้ผลที่คนไทยรู้จักมานาน เป็นไม้ผลที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้เกือบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ปลีกล้วย หยวกกล้อย ผลกล้วย ใบกล้วยเองก็สามารถนำมาห่อขนมหรือปิ้งย่างอาหารได้เรียกได้ว่ากล้วยมีประโยชน์ตั้งแต่รากยันใบ ซึ่งในเทศกาลต่างๆไม่ว่าจะเป็นปีใหม่ สงกรานต์ หรืองานมงคลต่างๆ กล้วยจะเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของงานนั้นๆ เพราะกล้วยมีความมหมายที่เชิงความเชื่อที่ดี โดยคนเฒ่าคนแก่มักจะบอกว่า "ให้รับประทานกล้วยสิ ทานแล้ว ชีวิตก็จะกล้วยๆ ง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก"
นอกจากจะรับประทานกล้วยแบบผลแล้ว ปลีกล้วยยังสามารถนำมาทำเป็นแกงต่างๆ เช่น แกงไก่ใส่หัวปลี ยำหัวปลีกุ้งสุก หรือแกงหยวกกล้วย( แกนกลางของกล้วยเอาส่วนที่อ่อนที่สุดมาทำแกง)ใส่กระดูกหมู/ไก่ หรือแม้แต่ใช้ทำขนมต่างๆเช่น ขนมกล้วย ข้าวเหนียวปิ้งใส้กล้วย เป็นต้น ซึ่งเป็นอาหารที่หลายบ้านมักจะนิยมทำรับประทานในช่วงเทศกาลต่างๆเพื่อเป็นการเสริมให้ชีวิตมีแต่เรื่องกล้วยๆ ตามความเชื่อส่วนบุคคล
ส่วนวิธีการทำแกงหยวกกล้วยนั้นไม่ยาก
1.เลือกต้นกล้วยที่กำลังพอดี 1ต้น ลอกเปลือกจนเหลือแกนกลางออกมา นำมาหั้น/ล้างน้ำ
2.เตรียมเครื่องแกง มีพริกแห้ง ข่า ตระไคร้ หอมแดง กระเทียม โขลกให้เข้ากัน หากไม่มีสามารถใช้พริกแกงสำเร็จรูปได้เลย
3.ตั้งหม้อใส่น้ำ นำพริกแกงที่เตรียมไว้ใส่ในหม้อใส่หยวกกล้วยและเนื้อสัตว์ลงไป ตั้งจนสุก และปรุงรส
4.เสร็จ ตักรับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ
เพียงเท่านี้เราก็จะได้เมนูอาหารที่มีความหมายดีๆรับประทานในช่วงปีใหม่นี้แล้ว1เมนู