เจ้านายที่ดี หัวหน้าที่ดี ผู้บังคับบัญชา ควรเป็นอย่างไร? เป็นคำถามในความฝัน หรืออุดมคติ ที่บรรดาลูกน้องอยากจะเห็น อยากทำตามคำสั่ง หรือร่วมมือด้วยดีในการทำงานในหน่วยงาน หรือ บริษัท เพราะสุดท้ายแล้ว หากการทำงานร่วมกันเป็นไปด้วยดี ผลประโยชน์ย่อมตกอยู่กับองค์กรนั่นเอง
ฐานเศรษฐกิจ ไปเสาะแสวงหาเทคนิคหาคำตอบมาให้ถึงคุณสมบัติ เทคนิค การเป็นเจ้านายที่ดี มาฝาก ดังนี้
1. มีความเป็นผู้นำ (Leadership)
ผู้นำ หมายถึง การแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อผลงานที่เกิดขึ้นจากสมาชิกในทีม และสามารถโน้มน้าวจิตใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้ด้วยความเต็มใจ และเป็นที่ยอมรับของสมาชิกทุกคนในทึม
5 คุณลักษณะพฤติกรรมด้านผู้นำที่ลูกน้องต้องการมีดังต่อไปนี้
2. มีความยุติธรรม (Fair)
ความยุติธรรม หมายถึง ความเสมอภาคในการตัดสินใจ หรือให้ความสำคัญกับคนใดหรือสิ่งใด โดยที่ไม่เอนเอียงไปด้านใด ด้านหนึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านความยุติธรรม มีดังนี้
หัวหน้างานต้องมั่นฝึกฝนตนเองในหลายๆ ด้าน เช่น ต้องรู้จักใจแข็ง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว แยกระหว่างเรื่องส่วนตัวกับเรื่องงานออกจากกัน การฝึกการบริหารด้วยความจริง โดยไม่ใช้อารมณ์มามีส่วนในการตัดสินใจ และที่สำคัญคือ ให้ความเสมอภาคกับทุกคน 2
พฤติกรรมในแง่ลบที่ไม่ควรทา มีดังนี้ ไม่ยุติธรรม ลำเอียง มักเอาใจใส่แต่คนที่อยู่ใกล้ชิดเท่านั้น ดังนั้น คนที่ใกล้ชิดทำอะไรผิดก็รอดตัวเสมอ เล่นพรรคเล่นพวก (เด็กใคร เด็กมัน) สองมาตรฐาน ไม่ชอบหน้าใครก็จ้องแต่จะลงโทษคนนั้น หรือชอบใครก็เชียร์แต่คนนั้น
3. มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านความยุติธรรม มีดังนี้
4. ทางานเป็นระบบ (system)
การทำงานอย่างเป็นระบบ หมายถึง การที่เรากำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม แล้วนำไปปฏิบัติให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง เช่น ขั้นตอนการทำงาน การสื่อสาร การแก้ไขปัญหา การมอบหมายงาน การตรวจสอบติดตามงาน เป็นต้น
โดยคำนึงภึงสภาพแวดล้อมหรือปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานทั้งหมด ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และไม่เกิดความสับสน
5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการทำงานอย่างเป็นระบบ มีดังนี้
หลักการบริหารจัดการ POLC
Planing การวางแผนงาน โดยต้องรู้ว่าเป้าหมายคืออะไร เราจะไปสู่เป้าหมายนั้นได้อย่างไร ขั้นตอนวิธีการทำอย่างไรบ้าง และใครต้องมามีส่วนร่วม ระยะเวลา และผลลัพธ์ที่คาดหวัง ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น จากนั้นก็มากำหนดแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมกับเรื่องนั้นๆ
Organizing การจัดองค์กร โดยจัดลูกน้องให้เหมาะสมกับงานตามกาลัง ความสามารถ จากนั้นก็กำหนดขั้นตอนวิธีการต่างๆ เช่น การสื่อสาร การปฏิบัติงานให้ชัดเจน เข้าใจง่าย และที่สาคัญให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของตนเองมากที่สุด เพราะจะทาให้เกิดการยอมรับได้ง่าย
Leading การเป็นผู้นำ คือ หัวหน้าควรให้อำนาจอย่างเหมาะสมกับลูกน้องแต่ละคน ไม่ล้วงลูก ไม่จู้จี้ ไม่สับสนตนเอง มอบหมายหรือสั่งอะไรกับใคร ก็ต้องจำให้ได้ อย่าไปสับสน หรือเปลี่ยนแปลงอะไรย่อยๆ เพราะลูกน้องส่วนใหญ่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
Controling/Evaluaton การควบคุมงาน เมื่อมอบหมายงานอะไร ให้กับใครแล้ว ก็ควรควบคุมติดตามงานอย่างเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป ตามความยากง่ายของงาน ซึ่งทาให้เราสามารถที่จะทราบความคืบหน้าของงาน และประเมินสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเวลาเมื่อเกิดข้อผิดพลาด 3
5. มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา (Problem solving)
หมายถึงความสามารถในการจัดการกับสิ่งผิดปกติ หรือความบกพร่องของสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อลดความสูญเสียต่างๆ ที่จะเกิดตามมา โดยหลักการของการแก้ไขปัญหาคือ แก้ตรงต้นตอของปัญหา ในระยะเวลาที่สั้นที่สุด และไม่มีการแก้ไขปัญหาซ้า และการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีนี้จะต้องไม่ไปกระทบทำให้ปัญหาอื่นๆ ตามมา
5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการแก้ไขปัญหา มีดังนี้
วิธีการแก้ไขแบบ PDCA
Plan คือ การวางแผนโดยเป็นการวิเคราะห์ปัญหาว่า เราต้องการแก้ไขปัญหาอะไร จากนั้นก็เก็บรวบรวมข้อมูล แล้วทำการวิเคราะห์ เพื่อหาสาเหตุของปัญหา แล้วกำหนดวิธีการแก้ไขปัญหา
Do คือ การนำแผนงานไปปฏิบัติงานโดยมอบหมายให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องไปปฏิบัติตามขั้นตอนที่เรา กำหนดไว้ตามตารางเวลาอย่างเคร่งครัด
Check คือ การตรวจสอบ และประเมินผลการแก้ไขหรือปรับปรุงที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันทำไปแล้ว
Action คือ การกำหนดวิธีการมาตรฐานต่างๆ กรณีที่ปัญหายุติ สามารถแก้ไขได้ ให้นำวิธีการที่เราปฏิบัตินั้นมาสร้างเป็นมาตรฐานการทำงานต่อไป ถ้าหากไม่สาเร็จ ซึ่งอาจเกิดจากการแก้ไขที่ไม่ถูกวิธี หรือผู้แก้ไขไม่ตั้งใจ ให้กลับไปข้อ 1 เพื่อแก้ไขปัญหากันต่อไป
6. เปิดใจรับฟังความคิดเห็น (Open mind)
การที่จะเปิดใจได้ต้องเกิดจาก การยอมรับและเข้าใจ ซึ่งการยอมรับในที่นี้ คือ การที่เรายอมรับว่าคนเราแต่ละคน ต่างที่มา ต่างการศึกษา เลี้ยงดู ย่อมมีความคิดที่แตกต่างกันออกไป
และสองคือ การแสดงความเข้าใจก่อนว่า คนทุกคนย่อมมีความคิดเป็นของตนเอง และสิทธิ์ที่จะเสนอความคิดเห็นของตนเองด้วย การจะคิดได้กว้าง คิดได้ไกลจะต้องอาศัยการระดมสมอง (Brain storming) หรือเปลี่ยนความคิดเห็น การถกเถียง หรือการแสดงเหตุผล ซึ่งต้องอาศัยหลายๆ คนช่วยกันคิด
5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการเปิดใจรับฟัง มีดังนี้
5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการให้ความช่วยเหลือ มีดังนี้
หัวหน้าต้องรู้ก่อนว่าลูกน้องมีกี่คน แต่ละคนมีนิสัยใจคออย่างไร และแต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง และที่สาคัญคือ แต่ละคนมีจุดอ่อน จุดแข็งอะไร มีความรู้ ทักษะหรือประสบการณ์ที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานหรือไม่ จากนั้นก็รีบพัฒนาลูกน้องแต่ละคนให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ให้เหมาะสมกับแต่ละคน
การพัฒนามีได้หลายวิธี เช่น OJT (On the job training) การสอนงาน (Coaching) การมอบหมายงาน (Job assignment)
5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการพัฒนาสมาชิกในทีม มีดังนี้
ความคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) หมายถึง การค้นหาวิธีการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ในทางที่ถูกต้องให้ดีขึ้น กว่าที่เคยทำมา โดยพึงระลึกไว้เสมอว่า “วันนี้ต้องดีกว่าเมื่อวาน และวันพรุ่งนี้ต้องดีกว่าวันนี้”
5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ มีดังนี้
การให้เกียรติ หมายถึง การปฏิบัติต่อบุคคลอื่น โดยการให้ความเคารพในสิทธิและความเป็นคน โดยคำนึงถึง กฏระเบียบ มารยาท ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ เริ่มจากการเห็นคุณค่าของความเป็นคน ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา เราอยากให้เขาดีกับเราเท่าไร เราก็ต้องทาดีกับเขามากกว่านั้นสองเท่า
5 พฤติกรรมที่ผู้ตามคาดหวังจากหัวหน้าด้านการให้เกียรติ มีดังนี้
ที่มา คลิกที่นี่