วันเหมายัน 2566 (Winter Solstice) หรือที่คนไทย เรียกว่า ปรากฏการณ์ "ตะวันอ้อมข้าว" ซึ่งปีนี้ตรงกับวันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566 เป็นวันที่กลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี ประเทศทางซีกโลกเหนือเข้าสู่ฤดูหนาว ส่วนประเทศทางซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูร้อน
เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ให้ข้อมูลของวันเหมายัน หรือที่คนไทยเรียกว่า ปรากฏการณ์ "ตะวันอ้อมข้าว" เอาไว้ว่า วันเหมายัน (อ่านว่า เห-มา-ยัน) หรือ ภาษาอังกฤษ คือ Winter Solstice คือ วันที่มีช่วงเวลากลางคืนยาวนานที่สุดในรอบปี สำหรับปี 2566 นี้ ตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม 2566
ในแต่ละวัน ดวงอาทิตย์จะปรากฏอยู่ตำแหน่งที่ต่างกัน เปลี่ยนตำแหน่งไปประมาณวันละ 1 องศา ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์ค่อย ๆ เคลื่อนที่จากจุดตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกลงมาทางใต้ สังเกตได้จากท้องฟ้าในช่วงนี้จะมืดเร็วขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมา ณ ตำแหน่งเฉียงไปทางทิศใต้มากที่สุด ในวันเหมายันของแต่ละปี
วันดังกล่าวจึงมีเวลากลางคืนที่ยาวนานที่สุด และเวลากลางวันที่สั้นที่สุด ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 06.36 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 17.55 น. (เวลา ณ กรุงเทพฯ) รวมระยะเวลากลางวันเพียง 11 ชั่วโมง 19 นาที
นอกจากนี้ "วันเหมายัน" ยังนับเป็นวันเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเป็นวันที่ย่างเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกใต้
วันเหมายัน (Winter Solstice) จะตรงข้ามกับ วันครีษมายัน (Summer Solstice) ซึ่งเป็นวันที่ช่วงเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืน โดยจะเกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ตรงกับฤดูร้อน และมีวันพิเศษอีก 2 วันที่กลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน คือ วันวสันตวิษุวัตและวันศารทวิษุวัต
คนไทยจะเรียก "วันเหมายัน" ว่าปรากฏการณ์ "ตะวันอ้อมข้าว" โดยมีที่มาของความเชื่อเกี่ยวกับภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่มีความเกี่ยวโยงกับคนไทยมากที่สุด
มีตำนานเล่าว่า ช่วงที่เกิดปรากฏการณ์ตะวันอ้อมข้าว เป็นช่วงที่พระแม่โพสพกำลังตั้งครรภ์ ดวงอาทิตย์จึงทำความเคารพพระแม่ด้วยการไม่โคจรข้ามศีรษะของท่าน แล้วเปลี่ยนเส้นทางโคจรอ้อมไปทางทิศใต้แทน
นอกจากนี้ "ตะวันอ้อมข้าว" ยังเป็นสัญญาณบอกให้เกษตรกรเตรียมตัวเก็บเกี่ยวผลผลิตเนื่องจากฤดูหนาวมาถึงแล้วนั่นเองโดยในแต่ละภาคจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับ วันเหมายัน หรือ ตะวันอ้อมข้าว ที่ต่างกันไป อาทิ