‘เซ็นทรัล ทำ’  ต่อยอดเกษตรกรรม ปั้นรายได้ เพิ่มเม็ดเงินให้ชุมชน 

24 ก.ย. 2565 | 02:30 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.ย. 2565 | 09:50 น.

จากเป้าหมายที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ และช่วยให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ของกลุ่มเซ็นทรัล ทำให้เกิดเป็น “เซ็นทรัล ทำ” เข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้ทุกอย่างเกิดขึ้นได้จริง ตั้งแต่เมื่อกว่า 5-6 ปีก่อน จนปัจจุบันหลายโครงการที่เซ็นทรัล ทำ สร้างขึ้นเริ่มผลิดอกออกผล

"พิชัย จิราธิวัฒน์" กรรมการบริหาร กลุ่มเซ็นทรัล หัวเรือใหญ่ผู้ขับเคลื่อน “เซ็นทรัล ทำ” ได้พาสื่อมวลชนลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ดูงาน 6 โครงการต้นแบบ ได้แก่ โครงการแม่ทา ออร์แกนิค-ชุมชนต้นแบบด้านเกษตรอินทรีย์และท่องเที่ยววิถีชุมชน โครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตามศาสตร์พระราชา โรงเรียนบ้านพระนอน อ.แม่ริม โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์สวมใส่ช่วยเดิน สำหรับคนพิการ ผลงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการจริงใจมาร์เก็ต เชียงใหม่


  ‘เซ็นทรัล ทำ’  ต่อยอดเกษตรกรรม ปั้นรายได้ เพิ่มเม็ดเงินให้ชุมชน 

ผู้บริหารกลุ่มเซ็นทรัล เล่าว่า จากโครงการต่างๆ ในช่วงเริ่มต้น ทำรายได้ให้กับชุมชนราว 40-50 ล้านบาท หลังจากนั้นขยับขึ้นเป็น 1,300 ล้านบาท และล่าสุดคือราว 1,500 ล้านบาท โดยปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 20-30%

การทำงานของเซ็นทรัล ทำ มีการเชื่อมโยงและต่อยอด จากจุดเริ่มต้นที่เน้นเกษตรกร และการสร้างอาชีพให้คนในชุมชน ด้วยการให้ความรู้ นำผู้เชี่ยวชาญไปแลกเปลี่ยนความคิด พร้อมทั้งส่งเสริมช่องทางการตลาด และอีกเรื่องที่พยายามให้การสนับสนุนคือ การศึกษา ซึ่งระหว่างทำโครงการ ก็ต่อยอดไปสู่การสอนอาชีพและการทำเกษตรให้กับเด็กๆ เช่น การให้ความรู้การเลี้ยงไก่ไข่ แต่ละเดือนพยายามผลักดันให้เกิดฟาร์มเมอร์มาร์เก็ต สร้างสังคมให้ได้เรียนรู้วิชาชีพ รู้จักการค้าขาย เพื่อค้นหาความถนัดของตัวเอง และยังส่งเสริมด้านการกีฬา

 

‘เซ็นทรัล ทำ’  ต่อยอดเกษตรกรรม ปั้นรายได้ เพิ่มเม็ดเงินให้ชุมชน 
ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นอีกเรื่องที่เซ็นทรัล ทำ ขยายและต่อยอดจากสิ่งที่พบ และพัฒนาด้วยการนำผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยสนับสนุน และเมื่อสิ่งแวดล้อมดี มีสินค้าที่ใช้ได้ พื้นที่และชุมชนได้รับการพัฒนา จึงต่อยอดสู่แหล่งท่องเที่ยวขุมชน โดยพยายามเสนอเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของแต่ละจังหวัด ดึงดูดให้คนอยากมาเที่ยว

‘เซ็นทรัล ทำ’  ต่อยอดเกษตรกรรม ปั้นรายได้ เพิ่มเม็ดเงินให้ชุมชน 

ส่วนสินค้าแบรนด์ Good Goods และจริงใจ มาร์เก็ต คือการต่อยอดและส่งเสริมช่องทางขายที่ทำให้เกษตรกร และเจ้าของสินค้าชุมชน ได้พบกับลูกค้าด้วยตัวเอง และยังมีเซ็นทรัลช่วยเสริมด้านดีไซน์ และช่องทางขาย โดยจริงใจมาร์เก็ต เชียงใหม่ ถือเป็นโมเดลต้นแบบ ที่รวมสินค้าออร์แกนิค สินค้าแฮนด์เมด ไว้ด้วยกัน แล้วเสริมด้วย Tops Green สโตร์สีเขียวแห่งแรกในไทย และร้าน good goods แบรนด์วิสาหกิจเพื่อสังคม ที่นำเสนอสินค้าภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งขณะนี้ยังมีแผนที่จะขยายทำศูนย์รีไซเคิล ทำพื้นที่คลองแม่ข่าให้เป็นแหล่งพักผ่อน และยังจะทำโซนอาหารราคาถูก โดยดึงเชฟมือดีมาช่วย

‘เซ็นทรัล ทำ’  ต่อยอดเกษตรกรรม ปั้นรายได้ เพิ่มเม็ดเงินให้ชุมชน 
 

“เรามีคำว่า Center of Life เราไปตรงไหนก็ต้องดูแลคนตรงนั้นให้ดีที่สุด เรามีเซ็นทาริตี้ในแต่ละพื้นที่ ที่ช่วยกันค่อยๆ ทำขึ้นมา และมันเวิร์ค เราเอาคอนเซ็ปท์นี้ส่งไปที่เวียดนาม และทางยุโรป ก็จะทำ เพื่อช่วยเหลือคนที่นั่น”
 

“พิชัย” กล่าวว่า โมเดลที่ทำในจริงใจมาร์เก็ต เชียงใหม่ ยังมีแผนที่จะขยายไปที่อื่นๆ โดยเฉพาะในเซ็นทรัลที่มีจริงใจมาร์เก็ตอยู่ แต่รูปแบบจะต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ และยังมีแผนที่จะจับมือกับพันธมิตรอีกหลายราย อาทิ หมู อาซาว่า ที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มสินค้าจากชุมชนให้ถูกจริตผู็บริโภคมากขึ้น

‘เซ็นทรัล ทำ’  ต่อยอดเกษตรกรรม ปั้นรายได้ เพิ่มเม็ดเงินให้ชุมชน 

การต่อยอดโครงการ “เซ็นทรัล ทำ” ทำด้วยกันทำด้วยใจ ของกลุ่มเซ็นทรัล จะมีต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นไปตามเป้าหมายหลัก คือ การลดความเหลื่อมล้ำ และช่วยให้คนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 

 

หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,820 วันที่ 22 - 24 กันยายน พ.ศ. 2565