วันพืชมงคล เป็นวันสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึง ความสำคัญของเกษตรกร และ ภาคการเกษตร ที่มีต่อเศรษฐกิจไทย ในวันพืชมงคลจะมีการจัด “พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” หรือ Royal Ploughing Ceremony ต้อนรับการเข้าสู่ฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ เป็นขวัญและกำลังใจให้แก่เกษตรกร พระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีโบราณ มีสืบเนื่องมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
วันพืชมงคลปีนี้ (2566) ตรงกับวันพุธที่ 17 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่ไม่เป็นวันหยุดธนาคาร
เมื่อพูดถึง วันพืชมงคล ก็ต้องพูดถึงพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธี 2 พิธีที่กระทำร่วมกัน นั่นคือ
อีกทั้งคำว่า แรกนาขวัญ ยังหมายถึง พิธี “เริ่มต้น” การไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว
ด้วยเหตุอันเป็นมงคลนี้ เกษตรกรจึงถือเอาวันพืชมงคล คือวันเริ่มต้นฤกษ์แห่งการหว่านไถ
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันได้ดำเนินตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี เว้นแต่บางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย เช่น พิธีของพราหมณ์ได้มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระราชพิธีเป็นประจำทุกปี โดยมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุทูต และประชาชนจำนวนมาก มาคอยเฝ้าชมพระราชพิธีแรกนาขวัญ
ทั้งนี้ ตำแหน่ง “พระยาแรกนาขวัญ” นั้น ผู้ที่ทำหน้าที่ก็คือ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในแต่ละยุคสมัย เมื่อเสร็จพิธี ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าว นำไปผสมกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกหรือเก็บไว้เป็นถุงเงินเพื่อความเป็นสิริมงคล
ไฮไลท์สำคัญในงานพระราชพิธีพืชมงคล-แรกนาขวัญ คือ การเสี่ยงทาย ผ้านุ่งแต่งกาย และการเสี่ยงทายของกินของพระโค
สำหรับการเสี่ยงทายผ้านุ่งแต่งกาย นั้น ผ้านุ่งซึ่งพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบเพื่อเป็นการเสี่ยงทาย จะมีผ้าลาย 3 ผืน คือ หกคืบ ห้าคืบ และสี่คืบ ผ้านุ่งนี้จะวางเรียงบนโตกมีผ้าคลุมเพื่อให้พระยาแรกนาขวัญหยิบ ถ้าหยิบได้ผืนใดก็จะมีคำทำนายไปตามกันคือ
ส่วน การเสี่ยงทายของกิน 7 สิ่งของพระโค ประกอบด้วย ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่วเขียว งา เหล้า น้ำ และหญ้า ถ้าพระโคกินสิ่งใดก็จะมีคำทำนายไปตามนั้น ได้แก่
ทั้งนี้ วันพืชมงคลในแต่ละปี วันที่จะไม่ตรงกัน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรกระทำในสำคัญนี้ คือ ประชาชนทั่วไปควรประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ นอกจากนี้ ตามสถาบันการศึกษาหรือสถานที่ราชการ ยังมีการจัดนิทรรศการ แสดงประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันพืชมงคลรวมทั้งพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญด้วย