ผลพวงจากพายุเตี้ยนหมู่ ทำให้หลายพื้นที่ในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากฝนที่สะสม ทั้งน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก บ้านเรือน ทรัพย์สิน และพื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย วันนี้"ฐานเศรษฐกิจ"จึงได้รวบรวมมาตรการเยียวยาช่วยเหลือลูกค้าจากแบงก์หรือสถาบันการเงินจำนวน 4 ราย โดยมีข้อมูลรายละเอียดดังต่อไปนี้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธ.ก.ส. พิจารณาขยายระยะเวลาชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยออกไปสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน ตามศักยภาพโดยไม่คิดดอกเบี้ยปรับ
จัดเตรียมสินเชื่อฉุกเฉินรายละไม่เกิน 50,000 บาท
สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ
ส่วนเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยทั้ง 28 จังหวัด ที่ถูกประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ และได้ทำประกันไว้ในโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรกับ ธ.ก.ส. ภายหลังจากน้ำลด ธ.ก.ส. จะร่วมกับส่วนงานที่เกี่ยวข้องเร่งสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น พร้อมประสานงานกับบริษัทผู้รับประกันภัยในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขโดยเร็ว
ติดต่อเพื่อปรึกษาหรือขอรับบริการ
ธนาคารออมสิน
3 มาตรการสินเชื่อช่วยเหลือน้ำท่วมจากพายุเตี้ยนหมู่ "วงเงินกู้ฉุกเฉิน"
1.สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
2.สินเชื่อเคหะแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ
3.สินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน SMEs ที่ประสบภัยพิบัติ
ช่องทางการขอรับสินเชื่อ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
7 มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติปี 2564 พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ให้กู้ซ่อม/สร้าง และจ่ายสินไหม
มาตรการที่ 1 : ลดดอกเบี้ยเหลือ 0% ต่อปี นาน 4 เดือนแรก
มาตรการที่ 2 : ให้กู้เพิ่มหรือกู้ใหม่อัตราดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี คงที่ 1 ปีแรก
มาตรการที่ 3 : ประนอมหนี้ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี 4 เดือน และคิดอัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี 4 เดือน ไม่ต้องชำระเงินงวด
มาตรการที่ 4 : ประนอมหนี้ไม่เกิน 1 ปี คิดอัตราดอกเบี้ย 1.00% ต่อปี
มาตรการที่ 5 : กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรให้ผ่อนชำระดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี
มาตรการที่ 6 : ที่อยู่อาศัยเสียหายทั้งหลังซ่อมแซมไม่ได้ ให้ปลอดหนี้ในส่วนของอาคาร
มาตรการที่ 7 : พิจารณาสินไหมเร่งด่วน (Fast Track) สำหรับลูกค้าที่ทำกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย จ่ายตามความเสียหายจริงรวมทุกภัยธรรมชาติ ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปีและกรณีกรมธรรม์เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่ 1 พ.ย. 2562เพิ่มความคุ้มครองภัยธรรมชาติตามความเสียหายจริงแต่ไม่เกินภัยละ 30,000 บาทต่อปี
ช่องทางการขอรับสินเชื่อ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย