สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) พร้อมด้วยเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ 12 หน่วยงาน ร่วมกันลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน เรื่อง การเชื่อมต่อการใช้งานของแต่ละเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเเบบปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV) และยานยนต์ไฟฟ้าเเบบแบตเตอรี่ (BEV) ในประเทศไทย
สำหรับความร่วมมือกันในครั้งนี้ พันธมิตรทั้ง 12 หน่วยงาน ประกอบไปด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้านครหลวง ,การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ,บริษัท อรุณ พลัส จำกัด ,บริษัท ปตท. นํ้ามัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ,บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จํากัด ,บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จํากัด ,บริษัท ชาร์จแมเนจเม้นท์ จำกัด ,บริหาร บริษัท โชเซ่น เทคโนโลยี จํากัด ,บริษัท พลังงานมหานคร จํากัด ,บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด และ บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
สำหรับจุดประสงค์ในการผนึกกำลังกันในครั้งนี้ เพื่อดำเนินการและประสานความร่วมมือพัฒนาเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าและแสวงหาแนวทางความร่วมมืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า และมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อให้สามารถใช้บริการอัดประจุไฟฟ้าได้ในทุกเครือข่ายฯ และมีระบบการ ให้บริการที่เป็นมาตรฐาน
โดยรูปแบบการให้บริการ อาทิ ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้เครื่องมือ เช่น บัตร หรือ QR code โปรแกรม หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ข้ามเครือข่ายๆ โดยไม่จํากัดเฉพาะของเครือข่ายใดเครือข่ายหนึ่งเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วยังร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยง ระบบการเก็บค่าบริการจากผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้บริการต่าง เครือข่ายๆ ที่สามารถบริหารจัดการทั้งรายรับและรายจ่ายให้กับเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างเป็นธรรม
นอกเหนือจากการร่วมมือกับพันธมิตรแล้ว ภายในงานกลุ่ม Charging Consortium ของสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ยังได้เปิดตัว EV charging station map กลาง ที่รวบรวมโลเคชั่น ของทุกสถานีอัดประจุไฟฟ้าในกลุ่ม Charging Consortium บนเว็บไซต์ http://www.evat.or.th
ดร. มัณฑนา รังสิโยภาส เลขาธิการสมาคมยานยนต์ไฟฟ้า (EVAT) กล่าวว่า กลุ่ม Charging Consortium ภายใต้สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ได้ดำเนินการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ที่เป็นผู้ให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ ซึ่งจุดประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มดังกล่าวนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
อีกทั้งในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ดังนั้นสมาคมฯเริ่มเห็นการเติบโตของจำนวนผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าอย่าง สถานีอัดประจุไฟ้ฟ้าก็เติบโตไปในทิศทางเดียวกันด้วย
"เราได้มีการเปิดตัว เว็บไซต์กลางที่รวบรวบ สถานีอัดประจุไฟฟ้าจากทุกค่าย ที่ตั้งอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย ไว้ในเว็บไซต์เดียว ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านเว็บไซต์สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ทำให้ผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าสามารถวางแผนการเดินทางได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น”
อนึ่งในการประชุมคณะนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน คุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ในฐานะประธานคณะฯ ได้มอบหมายให้ 5 หน่วยงาน อันได้เเก่
ทั้ง 5 หน่วยงานจะพัฒนาและบริหารจัดการแพลตฟอร์มกลางของสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้สถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งจะมีการนำร่องในการเชื่อมโยงข้อมูลสถานีอัดประจุไฟฟ้า กลุ่มแรก ในเดือนสิงหาคม 2565 โดยมีรูปแบบเป็นไปตามแนวทางที่กลุ่ม EV Charging Consortium ทำการศึกษาและพัฒนาก่อนหน้านี้ และจะมีการต่อยอดเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานต่างๆ ของกลุ่มต่อไปในอนาคต