นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) หรือ ปตท. เปิดเผยว่า ปั๊มชาร์จไฟฟ้ารถอีวี (EV) ของ OR จะเริ่มเก็บค่าบริการชาร์จในเดือน ส.ค.นี้ หลังจากได้เปิดให้ประชาชนทดลองชาร์จฟรีมาครบกำหนดแล้ว ซึ่งแม้ว่าจะเก็บค่าชาร์จไฟฟ้า แต่ก็ยังเป็นอัตราที่ถูกกว่าราคาน้ำมันมาก
ขณะเดียวกัน OR ก็จะเดินหน้าขยายปั๊มชาร์จไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จากปัจจุบัน อยู่ที่ 190 แห่ง จะเพิ่มเป็น 450 แห่งสิ้นปีนี้
ส่วนการเช่ารถอีวีของ ปตท. ภายใต้ EVme ปัจจุบันมีอยู่ 200 คัน จะเพิ่มอีก 500 คันในปี
ทั้งนี้ กลุ่ม ปตท. จะมุ่งไปสู่เรื่องของพลังงานแห่งอนาคต Future Energy ที่เป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐให้บรรลุเป้าหมายสังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึงการสร้างระบบนิเวศน์และสังคมที่ดีขึ้น
โดยเรื่องของธุรกิจใหม่ จะเน้นการลงทุนพลังงานทดแทน การลงทุนยานยนต์ไฟฟ้า ธุรกิจแบตเตอรี่ ที่เป็นการสร้างการเติบโตในธุรกิจสีเขียว เช่น ปตท.มีการลงทุนเรื่องของแบตเตอรี่ ก็ได้หารือกับผู้ประกอบการรถบัส เพื่อสนับสนุนให้เปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปไปสู่อีวี โดย ปตท.จะสนับสนุนเรื่องของแบตเตอรี่ให้
ด้านธุรกิจปัจจุบัน อย่างโรงกลั่นน้ำมัน ก็จะเป็นการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ให้ได้ตามมาตรฐานยูโร 5 เพื่อยกระดับเรื่องของการลดปล่อยมลพิษเพื่อดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ด้านธุรกิจปิโตรเคมี ก็ต้องยกระดับการใช้วัตถุดิบ(feedstock) จากผลิตภัณฑ์การเกษตร เพื่อให้เกิดการย่อยสลายได้ เป็นต้น
ขณะที่ความร่วมมือระหว่างบริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) ร่วมมือกับฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) ตั้ง บริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด (HORIZON PLUS) เพื่อเดินหน้าธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร (EV Value Chain) โดยจะขยายตลาดและสร้างฐานการผลิต EV ในไทยนั้น ล่าสุด ชัดเจนแล้วว่าจะจัดตั้งโรงงานในประเทศไทย ในแถบภาคตะวันออก จะเริ่มการผลิตรถในช่วงต้นปี2567 กำลังผลิตเฟสแรก 50,000 คัน ภายใต้งบลงทุน 1,000 ล้านดอลลาร์
และผลิตเฟส 2 อีก 150,000 คันต่อปีในปี2573 ส่วนลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการแพลตฟอร์มผลิตรถอีวีนั้น เบื้องต้นมีผู้สนวจแล้ว 2-3 ราย
นายอรรถพล กล่าวต่อไปว่า เรื่องของธุรกิจใหม่ ปตท.จะขับเคลื่อนการเติบโตตามวิสัยทัศน์ “Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต” ซึ่งต้องเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่การใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น
ซึ่งจะต้องพัฒนาธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนด้วยกำลังการผลิตจากพลังงานทดแทนที่ 12 GW ภายในปี 2573 จากปัจจุบัน มีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 2,000 เมกะวัตต์
ตามแผนลงทุน 5 ปี(2565-2569) ได้ตั้งงบประมาณอยู่ที่ราว 146,000 ล้านบาท และกลุ่ม ปตท. จะใช้งบประมาณอยู่ที่ราว 980,000 ล้านบาท เพื่อสร้างการเติบโตจากธุรกิจพลังงาน แห่งอนาคต (Future Energy and Beyond) โดยตั้งเป้าใน 10 ปีข้างหน้า ให้มีสัดส่วนการลงทุน 30% และในปี 2573