สะเทือนเลือนลั่นวงการรถยนต์บ้านเราอีกครั้ง เมื่อ “ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น” ออกแถลงการณ์วันที่ 7 มิ.ย.67 ว่า ซูซูกิตัดสินใจยุติการผลิตที่โรงงานประเทศไทย คือ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (SMT) ภายในช่วงสิ้นปี พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทบทวนโครงสร้างการผลิตของซูซูกิทั่วโลก
ฐานเศรษฐกิจ ตรวจสอบข้อมูล การประกอบธุรกิจของ บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศไทย จากระบบ data.creden https://data.creden.co/ ผู้ให้บริการข้อมูลด้านนิติบุคคล พบว่า บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ส.ค. 2554 (12 ปี 10 เดือน 14 วัน) ทุนจดทะเบียนปัจจุบัน 12,681.87 ล้านบาท
บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มีผู้ถือหุ้น 3 ราย ประกอบด้วย
เมื่อพิจารณาจากงบกำไรขาดทุนของบริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ย้อนหลัง 11 ปี (2556-2566) พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
รายได้หลักมีแนวโน้มผันผวน โดยปี 2557 และ 2563 มีรายได้ต่ำสุดที่ 15,468 ล้านบาท และ 16,230 ล้านบาท ตามลำดับ
รายได้รวมสูงสุดในปี 2561 ที่ 28,166 ล้านบาท
• ต้นทุนขายสูงถึง 92% ของยอดขายในบางปี ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นต่ำ
• ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการค่อนข้างสูง โดยสูงสุดในปี 2561 ที่ 2,992 ล้านบาท
• มีกำไรสุทธิเพียง 4 ปี ได้แก่ ปี 2556, 2560, 2561 และ 2564
• ขาดทุนสุทธิสูงสุดในปี 2563 ถึง 1,041 ล้านบาท
• สองปีหลังสุด 2565 และ 2566 ขาดทุนสุทธิ 80 และ 264 ล้านบาทตามลำดับ
รายได้รวม 213,863.854 ล้านบาท
รายจ่ายรวม 221,406.752 ล้านบาท
ขาดทุนสุทธิ 2,011.683 ล้านบาท
โดยสรุป SMT ประสบปัญหาขาดทุนเรื้อรังจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูง ประกอบกับรายได้ที่ผันผวน สะท้อนสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมรถยนต์ไทยที่รุนแรง การยุติการผลิตในปี 2568 จึงเป็นการปรับกลยุทธ์ของบริษัทแม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้า
2562 - 23,908 คัน (อันดับ 9)
2563 – 26,380 คัน (อันดับ9)
2564 – 22,378 คัน (อันดับ 9)
2565 – 20,083 คัน (อันดับ9)
2566 – 12,151คัน (หลุด Top 10)
2567 – ตั้งเป้ายอดขาย 1.2 หมื่นคัน