กระแสการเข้ามาของ ยานยนต์ไฟฟ้า ทั่วโลกเติบโตอย่างรวดเร็วจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปใช้รถส่วนบุคคลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลต่อ อุตสาหกรรมยานยนต์ ใน อาเซียน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ประเทศผู้ผลิตรถยนต์ในอาเซียนเร่งตั้งเป้าหมายเพิ่มการใช้และการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก โดย
ความเคลื่อนไหวล่าสุดของอินโดนีเซีย
รัฐบาลอินโดนีเซีย ประกาศใกล้สรุปข้อตกลงร่วมกับ บริษัท บีวายดี กรุ๊ป (BYD Group) และ เทสลา (Tesla) ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่จากจีนและสหรัฐอเมริกาตามลำดับเมื่อวานนี้ (17 ม.ค.) โดยทั้งสามฝ่ายมีวัตถุประสงค์ร่วมกันตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle-EV) ภายในประเทศอินโดนีเซีย พร้อมส่งเสริมการลงทุนเรื่องการผลิตแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้า หวังดึงดูดนักลงทุนรายอื่นๆเพิ่มเติม
ล่าสุด ก่อนกรณีของบีวายดีกับเทสลา อินโดนีเซียก็ได้ 'ฮุนได' ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเกาหลีใต้ มาเปิดตัวโรงงานแล้วเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา (2565) เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ประกอบในประเทศเป็นรายแรกของอินโดนีเซีย
"ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดในโลกจะลงทุนที่นี่ โดยมีบีวายดี กรุ๊ป ที่เป็นอันดับหนึ่งของโลก ตามด้วยเทสลา ในอันดับที่สอง ต่อด้วย ฮุนได และอื่น ๆ กำลังสรุปข้อตกลงกับอินโดนีเซีย" นายลูฮูต บินซาร์ ปันด์ไจตัน รัฐมนตรีประสานงานของอินโดนีเซีย กล่าวในการประชุมร่วมกับส่วนราชการระดับจังหวัด
นอกจากนี้ ยังเปิดเผยข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์อีวีว่า
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับรถยนต์อีวี ก็ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลอินโดนีเซียด้วยเช่นกัน เช่นการผลิตแบตเตอรี่ โดยเมื่อเดือนมกราคม 2565 บริษัทฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) จากไต้หวัน ได้บรรลุข้อตกลงกับรัฐบาลอินโดฯ ในการผนึกความร่วมมือด้านยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร ทั้งการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า จักรยานยนต์ไฟฟ้า และแบตเตอรี่
ในครั้งนั้น ทางฟ็อกซ์คอนน์ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ
พันธมิตรเหล่านี้มุ่งเป้าหมายร่วมกันพัฒนาระบบนิเวศด้านพลังงานใหม่ที่ยั่งยืนในอินโดนีเซีย ซึ่งมุ่งเน้นที่แบตเตอรี่ไฟฟ้า การขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
การบรรลุข้อตกลงกับฟ็อกซ์คอนน์และบรรดาพันธมิตรในครั้งนี้ จะนำมาซึ่งเงินลงทุน และการสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการในอินโดนิเซียเป็นอย่างมาก ซึ่งจะนำไปสู่โครงสร้างด้านรถยนต์ไฟฟ้าที่ทันสมัย อีกทั้งยังมอบโอกาสให้สตาร์ทอัพในประเทศเข้าไปมีส่วนรวมในการพัฒนา Ecosystem สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย
ผู้บริหารของฟ็อกซ์คอนน์เปิดเผยว่า การนำเทคโนโลยีของบริษัทมาใช้ (แพลตฟอร์ม MIH แบบเปิด) ควบคู่ไปกับกลยุทธ์ Build-Operate-Localize (BOL) และความเชี่ยวชาญด้านการผลิต จะช่วยให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของตลาด และสร้างระบบนิเวศ EV ใหม่ที่ยั่งยืนในอินโดนีเซียได้
เป้าหมายการผลิตของอินโดฯ
อินโดนีเซีย มีเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารวม 400,000 คันต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2025 และเพิ่มเป็น 1 ล้านคันต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2035 โดยมีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ 3 แนวทาง
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในอินโดฯ
ยอดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) ในปี 2564 ของอินโดนีเซียอยู่ที่ 658 คัน คิดเป็นร้อยละ 0.07 จากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งสิ้น 887,202 คันในปีดังกล่าว หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 571.4 จากปีก่อนหน้า รถยนต์ BEV ที่จำหน่ายในอินโดนีเซียในปีนั้น ประกอบด้วยรถยนต์ BEV จาก Hyundai Nissan Lexus และ DFSK (สถิติดังกล่าวไม่รวมรถยนต์หรู เช่น Porsche และ Tesla)
ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2021 อินโดนีเซียประกาศลดภาษีขายสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย (Luxury-goods sales tax: LST) ประเภทยานยนต์ โดยพิจารณาตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และประเภทรถยนต์ไฟฟ้า โดยลดภาษีจากอัตราปกติร้อยละ 15 เหลือร้อยละ 5-12 สำหรับรถยนต์ไฮบริด และยกเว้นภาษีดังกล่าวสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) รถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอิน (PHEV) เพื่อเร่งความต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า
สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ที่ลงทุนในแบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออน จะได้รับการลดภาษี LST เพิ่มเติมอีก จากนั้น ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2022 ภาครัฐอินโดนีเซียประกาศลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งครบชุดสมบูรณ์ (Incompletely Knocked-down: IKD) สำหรับการประกอบ เพื่อช่วยลดภาระของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่เริ่มลงทุนสร้างโรงงานผลิตและส่งเสริมให้ใช้ชิ้นส่วนในประเทศเพิ่มขึ้น
แล้วไทยหละ ไปถึงไหนแล้ว
ประเทศไทยกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ ไว้ดังนี้ คือ
ไทยจะเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลกภายในปี ค.ศ. 2035 โดยมีเป้าหมายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าร้อยละ 30 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ภายในปี ค.ศ. 2030 แบ่งออกเป็น
จำนวนการจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV)ของไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี ค.ศ. 2021 รถยนต์ BEV จดทะเบียน 2,079 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 61 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เป็นการนำเข้าจากประเทศจีนจำนวน 1,290 คัน หรือร้อยละ 60 ของปริมาณรถยนต์ BEV ทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนใหม่มีอัตราส่วนเพียงร้อยละ 0.28 ของจำนวนรถยนต์จดทะเบียนใหม่ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2021 ซึ่งเท่ากับ 754,254 คัน ด้านการจดทะเบียนใหม่ของรถจักรยานยนต์ BEV มีจำนวนทั้งหมด 3,778 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 137 จากปีก่อนหน้า คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.25 ของปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์รวม 1,516,096 คัน
มาตรการส่งเสริมการผลิต
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) ได้ออกประกาศเรื่องการปรับปรุงนโยบายส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานพาหนะไฟฟ้า ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 มีสาระสำคัญคือ
นอกจากนี้ ไทยยังจัดเตรียมระบบนิเวศที่ปลอดภัยสำหรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าไว้ด้วย โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้กำหนดมาตรฐานทั่วไปด้านความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและแท่นประจุไฟฟ้า เช่น มาตรฐานหัวจ่ายกระแสไฟฟ้าตามมาตรฐาน CCS 2 สำหรับรถโดยสารไฟฟ้า และรถยนต์ไฟฟ้า มาตรฐานความปลอดภัยของแบตเตอรี่ UNECE R100 สำหรับรถยนต์ และ UNECE R136 สำหรับรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
ด้านกรมการขนส่งทางบกยังมีข้อกำหนดว่า รถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่จะจดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปีนี้ (2566) เป็นต้นไป ต้องใช้แบตเตอรี่ที่เป็นไปตามมาตรฐาน UNECE R100 หรือ R136 นอกจากนั้น ยังตั้งศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า และศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (Automotive and Tyre Testing, Research and Innovation Center: ATTRIC) ซึ่งจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบในปีพ.ศ. 2569
ส่องโครงการลงทุนในไทย
นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมแล้ว 26 โครงการ รวมทั้งหมด 17 บริษัท มูลค่า 80,162 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) แบ่งตามประเภทรถยนต์ไฟฟ้า ประกอบด้วย
ส่วนการส่งเสริมการลงทุนในกิจการ "ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ EV" มีทั้งหมด 37 โครงการ 28 บริษัท มูลค่า 18,410 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) แบ่งตามประเภทของชิ้นส่วน ได้แก่
ด้านการส่งเสริมการลงทุนในกิจการ Charging Station (สถานีบริการประจุไฟฟ้า) จำนวนรวม 9,036 หัวจ่าย เป็นสถานีแบบ QUICK CHARGE (ประจุเร็ว) จำนวน 3,960 หัวจ่าย 5 โครงการ เงินลงทุนรวม 2,174 ล้านบาท
ส่วนบริษัทต่างชาติที่ตบเท้าเข้าลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนประกอบในประเทศไทยอย่างคึกคักนั้น มีทั้งจากจีน ประเทศอื่นๆในเอเชีย และประเทศตะวันตก โปรดคลิกอ่าน ที่นี่
จะเห็นได้ว่า บริษัทหลายรายที่เข้ามาลงทุน ได้เข้ามาทำโครงการทั้งในไทยและอินโดนีเซีย เช่น บีวายดี และเทสลา เราคงได้เห็นการแข่งขันที่คึกคักมากขึ้น การเป็นศูนย์กลางหรือฮับการลงทุนด้านรถอีวีในอาเซียนนั้นยังไม่ได้จำกัดขอบเขตเฉพาะสองประเทศ เพราะในมาเลเซียและฟิลิปปินส์ก็มีความเคลื่อนไหวเช่นกัน อาจจะกล่าวได้ว่า ในอนาคตอันใกล้อาเซียนจะกลายมาเป็นฮับยานยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดภูมิภาคหนึ่งในโลกก็ว่าได้