บริษัท ไทย สมายล์ กรุ๊ป เปิดตัวรถเมล์ไฟฟ้าราคาประหยัด หรือ “รถ EV สีส้ม” ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของภาครัฐ ที่มีกำหนดนโยบายว่าเอกชนผู้ได้รับใบอนุญาต ต้องดำเนินการจัดหาให้มีรถร้อน ออกให้บริการประชาชนเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย ซึ่งทางบริษัทได้จัดหามาทั้งสิ้นจำนวน 60 คัน ขนาด 8 เมตร รองรับผู้โดยสารไม่เกิน 30 คนต่อคัน โดยจะคิดค่าโดยสาร 10 บาทตลอด เพื่อนำไปเสริมการเข้าถึงบริการขนส่งมวลชนให้ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น ในเฟสแรกจะให้บริการใน 10 เส้นทาง
โดยผู้ใช้บริการสามารถชำระค่าโดยสารได้ทั้งรูปแบบ HOP Card ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ เดลิ แมกซ์ แฟร์ เดินทางไม่จำกัดในราคาเพียง 40 บาทตลอดสาย ไปจนถึงการชำระด้วยรูปแบบเงินสด เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป ในช่วงแรกคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการ 1,000 คนต่อวัน จากนั้นจะทำการศึกษาเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานนำไปพัฒนาบริการต่อไป
ทั้งนี้ รถ EV สีส้มที่นำมาให้บริการบริษัทฯ ได้นำรถโดยสารปรับอากาศมาดำเนินการให้เป็นรถโดยสารธรรมดา หรือ รถเมล์ร้อน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบเทคโนโลยีเพิ่มเติม ประมาณ 500,000 บาทต่อคัน เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศ (แอร์) ออกมาภายในห้องโดยสาร
นางสาวกุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ กรุ๊ป เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานของไทยสมายล์บัสตลอด 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปี 2566 โดยระบุว่า ในแง่ของเส้นทางที่ให้บริการปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 123 เส้นทาง มีการเพิ่มจำนวนรถ จาก 800 คัน ในช่วงต้นปี 2565 เป็นกว่า 2,200 คันแล้ว ยอดผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นมากกว่า 300,000 คน/วันแล้ว ทำให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่พี่น้องประชาชนหันมาใช้บริการรถสาธารณะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น
ขณะเดียวกันทางบริษัท ได้เพิ่มความถี่ เพิ่มจำนวนรถ เพิ่มจำนวนรอบ ไปจนถึงการขยายเวลาการวิ่งให้บริการเป็น 24 ชั่วโมง นำร่องใน 4 เส้นทาง ได้แก่
สำหรับการพัฒนาของ ไทย สมายล์ โบ้ท ได้มีการเสริมฟีดเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า รูปแบบใหม่ ขนาด 19 เมตร เป็นเรือ Catamaran พลังงานสะอาด 100% ซึ่งมีความแตกต่างในทางกายภาพจากเรือรูปแบบเดิมของบริษัท ด้วยขนาดที่กระทัดรัดคล่องตัวมากขึ้น เหมาะที่จะเดินเรือในเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาได้ในทุกสภาพอากาศแม้ช่วงน้ำขึ้น
ปัจจุบันได้เรือรับเพิ่มมาแล้วจำนวน 9 ลำ ส่งผลให้บริษัทมีฟลีทเรือให้บริการทั้งสิ้น 35 ลำ ซึ่งได้เข้าไปบริการใน 3 เส้นทาง ได้แก่
ช่วงชั่วโมงเร่งด่วน คาดว่าจะสามารถเพิ่มความถี่ให้บริการได้ ทุก 7-10 นาที พร้อมทั้งยังสามารถให้บริการกับลูกค้าองค์กร เช่น การเช่าเหมาลำ การวิ่งตามฟีดเส้นทาง หรือเรือนำเที่ยว ได้อีกด้วย
ส่วนแผนระยะยาว จะขยายการให้บริการในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการวิ่งรถในเส้นทางใบอนุญาตปัจจุบัน และการขยายให้บริการรูปแบบ Feeder เชื่อมต่อการขนส่ง ทั้งรถ-เรือ-ราง ทั้งยังเพิ่มการให้บริการกลุ่มลูกค้าองค์กรต่าง ๆ ซึ่งในปีหน้าเชื่อว่าจะมีรถเข้ามาให้บริการเพิ่มเป็น 3,100 คันตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ คาดการณ์ว่าจะมียอดผู้โดยสารใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 500,000 คน/วัน
อย่างไรก็ตาม ซีอีโอ ไทย สมายล์ กรุ๊ป ยอมรับว่า ตนรับทราบถึงความเห็นของผู้ใช้บริการ ที่อาจยังพบกับความไม่สะดวกในบางส่วน ทางบริษัทรับฟังและได้ทำการแก้ไขต่อเนื่อง เช่น รถเมล์ไฟฟ้าของ TSB ไม่จอดรับผู้โดยสาร วิ่งเลนขวา ทางบริษัทได้ลงทุนสร้างศูนย์ฝึกอบรมครบวงจร ที่จะปั้นพนักงานขับรถ “กัปตันเมล์” รุ่นใหม่เข้ามาให้บริการด้วยมาตรฐานที่ยกระดับขึ้น ทั้งยังปรับสิทธิประโยชน์รายได้ของพนักงานให้สอดคล้องกับพฤติกรรม
นอกจากนี้บริษัทได้เริ่มทดลองใช้ระบบ Fleet management ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กำกับการเดินรถ สามารถตรวจการเข้าป้าย ความเร็ว ปริมาณผู้โดยสารบนรถ ไปจนถึงการตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ขับขี่-พนักงานผู้ให้บริการ จึงขอให้มั่นใจว่า การบริการของ TSB จะปรับปรุงแก้ไข พัฒนาบริการให้ดียิ่งขึ้นในทุกมิติ