23 ต.ค.2565 - สืบเนื่องจากรณี โลกโซเชียลได้มีการโพสต์ภาพและข้อความ ระบุให้ระวัง 'แบงก์พันปลอม' ระบาด จาก 2 พื้นที่ ซอยกำนัน อ.เมืองอุดรธานี หลังมีลูกค้าเอาเงินปลอมมาซื้อหมูกระทะที่ร้าน และร้านขายของชำที่ ต.เชียงหวาง อ.เพ็ญ มีลูกค้านำแบงก์พันมาซื้อของภายในร้าน
ล่าสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝากเตือนประชาชนให้ระมัดระวังโดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ขอให้ตรวจสอบธนบัตรที่ได้รับโดยเฉพาะธนบัตรที่มีมูลค่าสูง จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพแก๊งปลอมธนบัตร
เปิดวิธีสังเกตแบงก์จริงหรือปลอม
ทั้งนี้ พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แนะถึงวิธีสังเกตในเบื้องต้น สำหรับการพิจารณาดูว่า ธนบัตรใบละ 1,000 บาท หรือ แบงก์พันไหนเป็นของจริงหรือของปลอม ให้ดูที่ "แถบสีในเนื้อกระดาษ" ดังนี้
ปลอมธนบัตร มีโทษปรับและจำคุก
โดยโทษฐานปลอมหรือแปลงธนบัตร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 240 ระบุไว้ว่าผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้น ซึ่งพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้น ๆ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 ถึง 400,000 บาท
จงใจใช้'แบงก์ปลอม'ระวังโทษหนักติดคุก
สำหรับการใช้เงินปลอมซื้อของ โทษสูงสุดติดคุก 15 ปี การใช้ธนบัตรปลอมในการซื้อสินค้าและบริการเป็นการกระทำที่มีความผิดตามกฎหมายอาญาโดยแบ่งความผิดตามเจตนาของผู้ใช้ธนบัตรปลอมออกเป็น 2 ประเด็นหลัก
พล.ต.ต.อาชยนฯ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยประชาชน เน้นย้ำให้บังคับใช้กฎหมายจัดการกลุ่มมิจฉาชีพปลอมแบงก์อย่างเคร่งครัด สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งปราบปรามและหาทางป้องกันอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชนที่เป็นสุจริตชน และเป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ หากพี่น้องประชาชนพบการกระทำความผิดสามารถแจ้งเบาะแสและสอบถามข้อมูลได้ที่ สายด่วน 191 หรือสายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 ได้