2 ธ.ค.2565 - 1 ในหน้าที่ของผู้มีเงินได้ คือ การยื่นภาษี โดยปกติจะยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ซึ่งมีทั้งยื่นภาษีด้วยตนเองที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน หรือยื่นภาษีออนไลน์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรได้ ถึง สิ้นเดือนเมษายน ของทุกปี
อย่างไรก็ตาม เกิดกรณีให้เห็นเป็นข่าวบ่อยครั้ง บางรายถูกค่าปรับจากการเรียกเก็บภาษีย้อนหลังเป็นจำนวนหลายหมื่น หรือ บางรายหลักล้านบาท โดยเฉพาะ พ่อค้าแม่ค้ายุคใหม่ พลาดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และเป็นคำถามว่า กรมสรรพากร มีวิธีการตรวจสอบ 'ภาษีย้อนหลัง' เหล่านั้น ได้อย่างไร ?
โดย บมจ.ธรรมนิติ องค์กรที่ให้บริการด้านกฏหมาย ได้สรุป และ ไขข้อข้องใจ เรื่อง การตรวจสอบภาษีย้อนหลังของรัฐ ด้วยวิธีต่างๆ ไว้ดังนี้
- ดูข้อมูลจากใบ 50 ทวิ (หนังสือรับรอง หัก ณ ที่จ่าย ) ที่ทางบริษัทส่งให้กับกรมสรรพากร
- สถาบันการเงิน ส่งข้อมูลให้สสรรพากร เมื่อมีบริการฝาก หรือรับโอนเงิน ผ่านระบบ E-payment จะ 3,000 ครั้ง/ปี หรือ ฝาก หรือ โอนเงิน 400 ครั้ง และมียอดรวม ของการฝากและโอนรวมกัน 2 ล้านบาทขึ้นไป
- ใช้ระบu Big Data & Data Analytics
- ตรวจสอบผ่านเมนู การแจ้งเบาะแส / ข้อมูลแหล่งภาษี ที่www.rd.go.th
- สุ่มตรวจจากหน้าเว็บต่างๆ เช่น เฟซบุ๊ก ที่มีการโพสต์งินโอนเข้า
- ดึงข้อมูล จากเว็บไซต์ต่างๆ หรือ Web Scraping
ทั้งนี้ หากยื่นภาษีไม่ทันทำอย่างไร ? อ้างอิงจาก 'ดีดีพร็อพเพอร์ตี้' เคยให้คำแนะนำไว้ว่า ...
- หากยื่นภาษีไม่ทันในระยะเวลาที่กำหนด จะต้องนำเอกสารยื่นภาษีไปยื่นเองที่สำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และมีโทษการไม่ยื่นภาษีภายในกำหนดเวลา
- กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
- กรณีจงใจ แจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท
- กรณีเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ