หลังจากที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีคำสั่งให้ นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ศึกษาความเหมาะสม และเป็นไปได้ แนวทาง กรอบระยะเวลา และผลกระทบของการปรับอัตราเงินดือน สำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือน และเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ชัดเจน และรายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบโดยเร็วภายในเดือนพฤศจิกายน 2566
ต่อมา(22 พฤศจิกายน 2566) นายปานปรีย์ ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าการพิจารณาแนวทางปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ว่าอีก1-2วัน น่าจะแล้วเสร็จ และคาดว่าจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในวันอังคารที่ 28 พ.ย. 2566
เมื่อพิจารณารายละเอียดงบประมาณ 2567 ตามมติเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท พบว่ามีการตั้งงบประมาณรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือนข้าราชการ และลูกจ้างประจำในงบกลางเพียง 5 รายการ เท่านั้น ไม่มีการตั้งงบประมาณสำหรับการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและลูกจ้างประจำแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า หากรัฐบาลจะปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการในปีงบประมาณ 2567 ก็สามารถทำได้ด้วยการนำงบกลางในรายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นมาใช้ ซึ่งในปีงบประมาณ 2567 ได้ตั้งงบไว้ 95,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 2,600 ล้านบาท
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัจจุบันกรมบัญชีกลางจ่ายเงินเดือนข้าราชการใช้งบประมาณเฉลี่ยเดือนละ 50,000 ล้านบาท โดยเป็นข้าราชการที่อยู่ในความดูแลผ่านระบบจ่ายตรง 230 หน่วยงาน มีจำนวนข้าราชการทั้งหมด 1.7 ล้านคน โดยไม่รวมข้าราชการท้องถิ่น และข้าราชการการเมือง หากมีการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการก็จะทำให้งบที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น สำหรับการจ่ายตรงเงินเดือน และค่าจ้างประจำเดือน ต.ค. 2566 แบ่งเป็น
ขณะที่การจ่ายตรงเงินเดือนทหารกองประจำการในเดือนต.ค. 2566 แบ่งเป็น
ทั้งนี้ ในส่วนของเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ จำนวน 329,430 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2566 จำนวน 6,640 ล้านบาทนั้น สอดคล้องกับข้อมูลของ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ระบุว่า ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2566 และเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ในอีก 10 ปีข้างหน้า (ปี 2576) โดยประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 28 หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด