การเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ครั้งแรกของประเทศไทย ในวันที่ 24 ธันวาคม 2566 เพื่อสรรหาผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม ได้เสร็จสิ้นลงไปแล้ว
โดยผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ หลังนับคะแนนได้ 100 % ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง 7 อันดับแรก ได้แก่
ส่วนผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง 7 อันดับแรก ได้แก่
1. เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรี เกี่ยวกับโยบายและมาตรการในการประกันสังคม
2. พิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการตรา พ.ร.ก.การออกกฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ
3. วางระเบียบโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุน
4. วางระเบียบโดยความเห็นของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน
5. พิจารณางบดุลและรายการรับเงินของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงาน ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกันสังคม
6. ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่คณะกรรมการอื่นหรือสำนักงาน
7. ปฏิบัติการอื่นใด ตามที่กฎหมายหรือตามที่รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานมอบหมาย
กองทุนประกันสังคม มีเงินสะสมอยู่ที่ 2.3 ล้านล้านบาท คือ กองทุนที่รัฐบาลไทยจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตให้แก่ลูกจ้างที่มีรายได้ในประเทศ ใช้บังคับกับสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป
ซึ่งนายจ้าง และลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฝ่ายละเท่า ๆ กัน โดยเงินสมทบที่ได้มาจะถูกนำไปจัดตั้งเป็นกองทุนและจ่ายเป็นผลประโยชน์ทดแทน หรือให้ความคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง
ศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และที่ปรึกษาด้านหลักประกันทางสังคม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้วิเคราะห์ปัญหา และตั้งข้อสังเกตต่อกองทุนประกันสังคมไว้ว่า 2 ปัญหาหลักที่ผู้ประกันตนมักจะสะท้อนออกมา คือ สิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล และ ความยั่งยืนของกองทุนชราภาพ
มีงานวิจัยหลายชิ้นระบุไปในทิศทางเดียวกันว่ามีความเป็นไปได้ที่กองทุนชราภาพจะมีเงินสะสมไม่พอจ่าย และผู้ประกันตนที่ต้องเจียดแบ่งเงินรายได้ของตัวเองเพื่อสมทบกองทุนทุกเดือน มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับเงินบำนาญชราภาพในวัยเกษียณ
ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบเข้าสู่กองทุน ไม่ได้รับทราบข้อมูลเหมือนกับกองทุนอื่นๆว่า จ่ายสะสมไปแล้วเท่าไหร่ แล้วเราจะได้สิทธิเท่าไรเมื่อเราเกษียณอายุ สิทธิของเราจะคงอยู่หรือไม่ จะมีความยั่งยืนไหม ควรให้ข้อมูลให้ผู้ประกันตนได้รับทราบ เหมือนกับที่กองทุนต่างๆ ในแง่สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนควรจะได้ทราบสิ่งเหล่านี้ ได้เห็นภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิตัวเองและไม่รู้สึกว่ามันเกิดความเหลื่อมล้ำในระหว่างสิทธิสวัสดิการกับกลุ่มอื่นๆ
ผู้ประกันตนคาดหวังว่าเงินที่ส่งเข้าไปสู่กองทุนมีการบริหารจัดการที่ดีหรือไม่ เงินบริหารจัดการปีละ 5,000 ล้านบาทถูกใช้กับเรื่องต่างๆ อย่างไรบ้าง มีความโปร่งใสและใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
เมื่อคณะกรรมการกองทุนฯ มีการตัดสินใจเรื่องที่สำคัญๆ สิ่งที่ผู้ประกันตนควรรู้แต่ไม่ได้รู้ ผลการประชุมของคณะกรรมการประกันสังคมมีอะไรบ้าง ผู้ประกันตนก็อยากจะรู้บ้างว่าที่ผ่านมามีการใช้เงินเราในการบริหารจัดการอย่างไร ซึ่งก็ควรจะต้องมีการเปิดเผยให้ผู้ประกันตนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
ในขณะเดียวกันก็จะต้องไปเร่งรัดเก็บเงินสมทบค้างจ่ายให้กับประกันสังคมในแต่ละปีที่ไม่มีการสมทบเข้ามาในกองทุน ซึ่งเป็นเงินจำนวนที่สูงมากถึง 6-7 หมื่นล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ถ้ามีการนำไปลงทุน ก็จะทำให้เกิดรายได้เข้ามา แต่พอมาค้างจ่ายแบบนี้ทำให้รายได้ของสำนักงานประกันสังคมหายไป ประมาณปีละ 2 พันล้านบาท ซึ่งคนที่ค้างจ่ายหลักๆ เลยคือภาครัฐ
การนำเงินกองทุนไปลงทุนถ้ามีผลตอบแทนที่ดีก็จะช่วยยืดอายุกองทุนได้ โดยเฉพาะเงินในส่วนของชราภาพกว่า 2 ล้านล้านบาท มูลค่าผลตอบแทนการลงทุนในแต่ละปีทำได้เยอะมาก ถ้าทบต้นไปก็จะช่วยในแง่ของความยั่งยืนของกองทุนด้วย แต่ถ้าเราทำ แก้ไข ปรับปรุง เพื่อให้มันยืนยาวมันก็จะยืดระยะไปได้จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานได้ ถึงเวลาวันที่เราจะได้รับเงินชราภาพ เราก็มั่นใจว่าเราจะได้รับเงินแน่นอน
ที่มา : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ,