“อักษร เอ็ดดูเคชั่น”หนุนครูสร้างผู้เรียนคิดเป็นลงมือทำยึด Active Learning

29 ก.ย. 2565 | 11:10 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ก.ย. 2565 | 18:21 น.

“อักษร เอ็ดดูเคชั่น” สนับสนุนครูสร้างผู้เรียนคิดเป็น ลงมือทำได้เน้นการสอนแบบ Active Learning ต้องมีหลากหลาย สอดคล้องเป้าหมายตามธรรมชาติวิชา และพัฒนาผู้เรียนสู่สมรรถนะ

ระยะนี้แวดวงการศึกษาพูดถึงการเรียนแบบเชิงรุก หรือ Active Learning อยู่บ่อยครั้ง สืบเนื่องจากการประชุมของคณะรัฐมนตรี ที่เน้นย้ำเรื่องการพัฒนาครู และนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนสู่สมรรถนะ เพื่อให้เด็กได้พร้อมกับโลกในศตวรรษที่ 21 

 

ส่งผลให้ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเร่งเดินหน้าปฏิรูปการศึกษาปูพรมอบรมครูทั่วประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบ จัดประชุมและชี้แจงนโยบายลงไปถึงศึกษานิเทศก์ทั้ง 245 เขต ส่งเสริมเรื่องการจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning สู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนผนึกกำลังร่วมกัน อันหวังว่าจะนำพาผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย เกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จนนำไปสู่การเกิดสมรรถนะ และรักที่จะเรียนรู้ไปตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

Active Learning คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ

 

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก หรือ Active Learning คือ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิด วิเคราะห์ และลงมือทำ  

 

หัวใจสำคัญของ Active Learning จำเป็นต้องมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การเรียนรู้ผ่านการคิดขั้นสูง (Thinking Based Learning) เรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by doing) เรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน (Cooperative Learning) และ เรียนรู้จากการสำรวจค้นหา (Inquiry Based Learning) รูปแบบการเรียนรู้แบบนี้จะสามารถทำให้ผู้เรียนรักษาผลการเรียนรู้ได้อยู่คงทน และเก็บเป็นระบบความจำในระยะยาว

การเรียนรู้จะเป็นไปอย่างมีความหมายโดยเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างครูและผู้เรียน ส่งผลให้เกิดความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดี อันจะนำไปสู่การเกิดสมรรถนะที่สำคัญตามเป้าหมายของแต่ละวิชา 

 

ใช้การสอน Active Learning แบบไหนให้สอดคล้องเป้าหมาย และเกิดสมรรถนะ

 

ทฤษฎีของการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ Active Learning ถูกคิดค้นและมีมานานกว่าร้อยปี และมีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย หากเราเปรียบเทียบการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นยานพาหนะก็คงต้องบอกว่ามีได้หลายแบบ ทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถบรรทุก รถตู้ รถกระบะ รถโดยสารสาธารณะ และอื่น ๆ อีกมาก

                       “อักษร เอ็ดดูเคชั่น”หนุนครูสร้างผู้เรียนคิดเป็นลงมือทำยึด Active Learning

จะเลือกใช้ยานพาหนะแบบใดนั้น ก็คงต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน  
การเรียนรู้แบบ Active Learning เองก็เช่นกัน หากครูผู้สอนต้องการเน้นให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหา รับมือกับปัญหาได้ด้วยตนเอง

 

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) ก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะที่สุด แต่หากครูต้องการให้ผู้เรียนคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เน้นการมีส่วนร่วมและสร้างผลงาน การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning : PrBL) ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี 


หรือหากครูต้องการให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์ สืบค้น จนสามารถหาข้อสรุป และเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ในรูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ก็ดูจะเป็นรูปแบบที่ตรงกับวัตถุประสงค์มากที่สุด 

                              “อักษร เอ็ดดูเคชั่น”หนุนครูสร้างผู้เรียนคิดเป็นลงมือทำยึด Active Learning
นอกจากนี้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ยังมีอีกมาก อาทิ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon Based Learning : PheBL) การใช้กรณีศึกษา (Case Study Method) การใช้เกมเป็นฐาน (Game Based Learning : GBL)

 

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามธรรมชาติวิชาคืออะไร เหมาะสมกับรูปแบบการเรียนรู้แบบไหน ครูผู้สอนจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนมากที่สุด 

 

Active Learning สอนอย่างไร? ในห้องเรียนจริง 


รูปแบบการเรียนรู้ที่กำลังจะเปลี่ยนไปโดยเน้นที่ “กระบวนการเรียนรู้” มากกว่า “เนื้อหาวิชา” และปรับบทบาทของครูให้มาเป็นผู้อำนวยการเรียนรู้ ส่งผลให้บริษัท อักษร เอ็ดดูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญ ประกาศขานรับนโยบายจากภาครัฐเป็นการเร่งด่วน สนับสนุนครูด้วยการจัดอบรมเรื่องการเรียนการสอนแบบ Active Learning ตลอดทั้งปีแบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งในรูปแบบ onsite และ online 

                               “อักษร เอ็ดดูเคชั่น”หนุนครูสร้างผู้เรียนคิดเป็นลงมือทำยึด Active Learning
ทั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจ และส่งเสริมศักยภาพครู ซึ่งในขณะนี้มีครูเข้าร่วมแล้วมากกว่า 10,000 ท่าน รองรับทุกกลุ่มสาระฯ ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล - มัธยมศึกษา และจะดำเนินการอบรมอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ 


นอกจากนั้น อักษร เอ็ดดูเคชั่น ยังได้จัดทำสื่อฯ ตัวอย่างกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่สมรรถนะ เพื่อให้ครูได้ใช้เป็นแนวทางในการสอนในห้องเรียนได้จริง 


ทั้งนี้ สื่อฯ ดังกล่าวถูกออกแบบมาอย่างครบกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผนเพื่อให้เห็นแนวทางการสอน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามแนว Active Learning ที่หลากหลาย เหมาะสมกับบริบทของเป้าหมายตามธรรมชาติของวิชา และเรื่องที่เรียน พร้อมระบุขั้นตอนวิธีการนำไปใช้อย่างละเอียด พร้อมตัวอย่างกิจกรรมสมรรถนะย่อยที่ช่วยครูเตรียมผู้เรียนให้พร้อม


สำหรับการทำกิจกรรมประเมินสมรรถนะหลัก และเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่ระบุเฉพาะเป็นรายกิจกรรม ตอบโจทย์ทั้งตัวชี้วัด และสมรรถนะผู้เรียน ทั้งหมดนี้พร้อมให้ครูสามารถดาวน์โหลดไปใช้ฟรีได้ผ่านทางเว็บไซต์อักษร เอ็ดดูเคชั่น 


อีกทั้งยังได้พัฒนาสื่อฯ ในรูปแบบดิจิทัลที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของเด็กในโลกยุคใหม่ ครูใช้งานง่าย นักเรียนเรียนสนุก เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ และมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับดิจิทัลแพลตฟอร์ม Aksorn On-Learn ที่สรุปเนื้อหาสำคัญในแต่ละบทเรียนเป็นคลิปวิดีโอสั้น ๆ และเปลี่ยนรูปแบบของหนังสือเรียนให้มาเป็นรูปแบบของ e-Book พร้อมที่สุดในการกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน 

                          “อักษร เอ็ดดูเคชั่น”หนุนครูสร้างผู้เรียนคิดเป็นลงมือทำยึด Active Learning
เพราะมีทั้งสื่อฯ ดิจิทัลระดับพรีเมี่ยมกว่า 10,000 ชิ้นในแพลตฟอร์มเดียว ทั้งภาพแอนิเมชัน 3D สร้างความสนุกสนาน และตื่นตาตื่นใจ พร้อมทดลองฟัง และออกเสียงภาษาอังกฤษแบบสำเนียงจากเจ้าของภาษาผ่านสื่อ Audio ยังมีแบบฝึกหัดกว่า 6,000 ชุดที่สอดแทรกตลอดบทเรียน พร้อมให้ฝึกคิด วิเคราะห์ และทำจนเกิดความชำนาญ ทั้งหมดนี้ สามารถสอบถามและชมรายละเอียดได้ที่ www.aksorn.com หรือ โทร. 0-2622-2999 


Active Learning อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องผลักดันให้เกิดขึ้น การสร้างความรู้ความเข้าใจโดยเฉพาะในบุคลากรทางด้านการศึกษา จึงถือเป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันขับเคลื่อนจากทุกหน่วยงาน เพราะเป้าหมายสำคัญของเราถือเป็นเป้าหมายเดียวกัน คือ เราต้องการให้เด็กของเราในวันนี้เติบโตกลายเป็นผู้ใหญ่ที่คิดเป็น แก้ปัญหาได้ สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาประเทศชาติของเราให้ก้าวหน้า และกลายเป็นพลเมืองของชาติที่สมบูรณ์ต่อไป