สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเริ่มใช้ระบบ"ตัดแต้มใบขับขี่" หรือตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ ในวันที่ 9 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
ทำไมต้องตัดแต้ม
เพื่อเสริมสร้างวินัยจราจร เป้าหมายเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน
พล.ต.ต.เอกราช ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง เปิดเผยว่า การตัดแต้มใบขับขี่ คิดขึ้นมาด้วยหลักการณ์ของความเท่าเทียมกัน เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นใครมีเงินมากขนาดไหน ก็จะมี 12 คะแนนเท่ากัน และหลักการณ์ของการให้โอกาส โดยจะไม่มีการตัดแต้มครั้งเดียวจนหมด เพื่อให้โอกาสปรับตัว
พล.ต.ต.เอกราช ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง เปิดเผยว่า การตัดแต้มใบขับขี่ คิดขึ้นมาด้วยหลักการณ์ของความเท่าเทียมกัน เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นใครมีเงินมากขนาดไหน ก็จะมี 12 คะแนนเท่ากัน และหลักการณ์ของการให้โอกาส โดยจะไม่มีการตัดแต้มครั้งเดียวจนหมด เพื่อให้โอกาสปรับตัว
เงื่อนไขการตัดคะแนนใบขับขี่
การตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถตามจำนวนคะแนนที่กำหนดของแต่ละข้อหา สำหรับการกระทำผิดในแต่ละครั้ง แต่หากเป็นกรณีที่กระทำผิดครั้งเดียวและเป็นความผิดหลายข้อหาให้ตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถตามจำนวนคะแนนที่กำหนดของแต่ละข้อหา แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 8 คะแนน
เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ซึ่งถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถจนเหลือ 0 คะแนน จะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ทุกชนิดคราวละ 90 วัน
หลักเกณฑ์ในการตัดคะแนน
ผู้มีใบอนุญาตขับขี่ จะเริ่มต้นด้วยการมี 12 คะแนน และมีหลักเกณฑ์ในการตัดคะแนน คือ ตัดคะแนนทันทีที่ทำผิด และตัดคะแนนเมื่อไม่ชำระค่าปรับตามใบสั่ง
ตัดครั้งละ 1 คะแนน
ตัดคะแนนทันทีที่ทำผิด ดังนี้
ตัดครั้งละ 2 คะแนน
ตัดครั้งละ 3 คะแนน
ตัดครั้งละ 4 คะแนน
ทั้งนี้หากคะแนนเหลือ 0 คะแนน จะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ เป็นเวลา 90 วัน หากฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่เป็นครั้งที่ 3 ภายใน 3 ปี จะถูกสั่งพักใช้ใบขับขี่มากกว่า 90 วัน และหากมีครั้งที่ 4 จะถูกพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
การคืนคะแนนความประพฤติ