ว่าปีนั้น ๆ จะตั้งวงคุย “เรื่องอะไร” ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัญหา “หัวใจ” ของระบบเศรษฐกิจไทย หรือที่กำลังจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต
ปี 2566 นี้ตั้งหัวข้อเข้ากระแสตั้งแต่รุ่นฟันนํ้านมถึงฟันปลอม ว่า “ถึงเวลา!ก้าวสู่ทรงใหม่ ไทยแลนด์” พุธที่ 22 มี.ค.2566 นี้ รับยุคโลกถดถอยที่ล่าสุด “แบงก์ล้ม”เริ่มปะทุในสหรัฐ-ยุโรป ตลอดจนหลังโควิด-19 ที่เทคโนโลยีกระทบโลกแรงและเร็วขึ้น
วงเสวนา“แนวโน้มเศรษฐกิจไทย 2566” ของ 4 นักเศรษฐศาสตร์ดีเด่น สมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ จะมาแชร์มุมมองของ“อีโคโนมิสต์”ไทยร่วมสมัย เพื่อช่วยกันมองแนวโน้มและอนาคตเศรษฐกิจไทย จะไปอย่างไรในท่ามกลางความผันผวน เพื่อสร้างความแข่งแกร่งประเทศในระยะยาว
“ดร.กิริฎา เภาพิจิตร” เป็นนักเศรษฐศาสตร์หญิงหนึ่งเดียวของวงเสวนาหัวข้อนี้
ดร. กิริฎา จบปริญญาตรีเกียรตินิยม อันดับ 1 สาขาเศรษฐศาสตร์ มธ. เมื่อปี 2535 ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ไปจบปริญญาโทและเอกด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา
ทำงานเป็นนักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ของกลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) สำนักงานประเทศไทย ปี 2542-2558 ทำหน้าที่ติดตามและวิเคราะห์เศรษฐกิจของไทย
นอกจากนี้ยังติดตามและประเมินการพัฒนาเศรษฐกิจ บรรยากาศการลงทุนของประเทศ และการปฏิรูปในภาครัฐ ในระดับภูมิภาค ทั้งที่วอชิงตันดี.ซี. ลาว กัมพูชา และเอเชียใต้ และได้ร่วมเขียนรายงาน เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ของธนาคารโลก
ได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่ง จากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2553 และศิษย์เก่าดีเด่นฯ ในโอกาสครบรอบ 70 ปี สถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี 2547
ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการวิจัย นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา และ ผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
และกรรมการอิสระของธนาคาคอาคารสงเคราะห์
ดร.กิริฎา เภาพิจิตร
ผู้อำนวยการวิจัยนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา และ
ผู้อำนวยการโครงการวิเคราะห์เศรษฐกิจเชิงลึก ทีดีอาร์ไอ