วันที่ 21 เมษายน 2566 ที่ห้องประชุมบัานไม้แดง อำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน นายศรัญญู มีทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นประธาน การประชุมและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่แพร่เชื้อสูง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอสบเมย- อำเภอแม่สะเรียง) ขึ้น ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองอำเภอ รวม 24 องค์กร ประกอบด้วย
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน โรงพยาบาล มีโรงพยาบาลสบเมย โรงพยาบาลแม่สะเรียง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่สะเรียง สำนักงานสาธารณสุขอำเภอสบเมย ที่ว่าการอำเภอสบเมย โดนายอัครพันธุ์ พลศิริ นายอำเภอสบเมย) กับที่ว่าการอำเภอแม่สะเรียง โดยนายสุรเชษฐ์ พุ้ยน้อย นายอำเภอแม่สะเรียง
นอกจากนี้ยังมี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ยวม องค์การบริหารสวนตำบล(อบต.)บ้านกาศ- อบต.แม่คง อบต.แม่เหาะ อบต.เสาหิน อบต.สบเมย อบต.แม่คะตวน อบต.แม่สวด อบต.แม่สามแลบ
ตลอดจนกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33 ค่ายสมเด็จพระบรมราชชนนี กรมทหารพรานที่ 36 แม่สะเรียง สถานีตำรวจภูธรแม่สะเรียง สถานีตำรวจภูธรสบเมย มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย องค์การมัลติเซอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Malteser International) ประเทศไทย
บันทึกข้อตกลงฉบับนี้ทำขึ้น เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 ในการร่วมมือกันกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่ ซึ่งรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดวิสัยทัศน์ "ประเทศไทยปลอดจากโรค์ไข้มาลาเรีย (Malaria Elimination) ภายในปี พ.ศ. 2567" เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง กับทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรมนลักษณะ "ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบและร่วมประเมินผล"
โดยทุกหน่วยงานได้ตกลงความร่วม
1. ร่วมจัดทำแผนกำจัดโรคไข้มาลาเรีย สนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ ร่วมขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ ติดตาม กำกับประเมินผล อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2. ร่วมดำเนินงาน อำเภอต้นแบบการกำจัดไข้มาลาเรียอย่างยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์การกำจัดโรคไข้มาลาเรียในพื้นที่แพร่เชื้อสูง จังหวัดแม่ฮ่องสอน พ.ศ. 2566-2569
3. สนับสนุนและร่วมดำเนินงาน การป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียตามมาตรการ 1-3-7 คือ การรายงานผู้ป่วย ที่ตรวจพบเชื้อมาลาเรียเข้าระบบมาลาเรียออนไลน์ ภายใน 1 วัน การสอบประวัติการติดเชื้อมาลาเรียภายใน 3 วัน และควบคุมการระบาดของโรคไข้มาลาเรียภายใน 7 วัน
ซึ่งแต่ละหน่วยงานจะได้ยึดถือไว้ปฎิบัติ เพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน