ความชื้นสูง คุณภาพเชื้อเพลิงขยะไม่สมํ่าเสมอสำหรับโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรม
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้การสนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มีผศ.ดร.คมศิลป์ วังยาว เป็นหัวหน้าทีม
เพื่อพัฒนากระบวนการทำแห้งชีวภาพ เพื่อการปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงขยะ ตั้งเป้าลดความชื้นในขยะมูลฝอย ให้ไม่เกิน 30 % ขณะเดียวกันเพิ่มความร้อนให้เชื้อเพลิงมูลฝอย ให้มีค่าความร้อนมากกว่า 4,000 Kcal/kg โดยใช้ระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน
ผศ.ดร.คมศิลป์ วังยาว เป็นนักวิจัยประจำบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม JGSEEมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี (มจธ.)
เคยได้รับทุนวิจัยจากวช. ในโครงการ“การพัฒนาศักยภาพการผลิตพลังงานจากธุรกิจเหมืองบ่อขยะ” พัฒนาแนวทางการประเมินเชื้อเพลิงขยะ เพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม
เนื่องจากในขยะมีนำไปฝังกลบ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณครึ่งหนึ่งจะย่อยสลายไป ซึ่งสามารถคัดแยกเพื่อนำกลบทับขยะได้ อีกประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลาสติก มีภาคเอกชนสนใจลงทุนรื้อร่อนนำไปขายเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel-RDF)
ครั้งนี้เป็นต่อยอดพัฒนาเทคโนโลยีลดความชื้นด้วยจุลินทรีย์ ร่วมกับThermodynamic ด้วยวิธีทางกายภาพ ศึกษาถึงปริมาณและรูปแบบการเติมอากาศเข้าไปในระบบ ให้ได้ RDF ที่มีคุณภาพตามเป้าหมายที่วางไว้
ผศ.ดร.คมศิลป์ชี้ว่า เพื่อเป็นต้นแบบโครงการบริหารจัดการขยะ โดยนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF ที่มีต้นทุนไม่สูง สามารถดำเนินการและแก้ปัญหาขยะให้กับชุมชนได้จริง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดปัญหาด้าน
สิ่งแวดล้อมจากการกำจัดขยะแบบไม่ถูกหลักสุขาภิบาลและขยะล้นเมือง
หากมีการขยายผลงานวิจัยนี้ที่สามารถต่อยอดเชิงพาณิชย์ในอนาคต จะเป็นนวัตกรรมต้นแบบ สำหรับเทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงคุณภาพสูงจากขยะมูลฝอยของประเทศไทย ที่สามารถใช้งานได้จริง ทั้งรัฐและเอกชนไม่ว่าจะในหรือต่างประเทศต่อไป
เปลี่ยนขยะให้กลายเป็นมี “คุณค่า”