แม้มีความพยายามเอาลงใต้ดินแต่ไปได้เชื่องช้า เพราะไม่มีใครอยากควักกระเป๋า
แต่ภาพนี้กำลังจะกลายเป็นประวัติศาสตร์ เมื่อมรกต เธียรมนตรี ผู้บริหารบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ประกาศ ‘ปีนี้จะเป็นปีที่สนุกสำหรับเรื่องสายสื่อสารลงดิน’
ด้วยเคล็ดลับตามแผนบันได3 ขั้น สร้างสภาพบังคับหักเสาไฟฟ้า
เมื่อนั้นสายไฟฟ้า-สายสื่อสาร ก็จำเป็นต้องลงท่อร้อยสายใต้ดิน ขณะเดียวกัน NT มีนํ้าเย็นมาลูบ ด้วยบริการ last mile sharing
จูงใจผู้ให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมมาเช่าใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง โดยไม่ต้องควักเงินลงทุนเอง จะได้มีเวลาไปคิดเรื่องการตลาด แข่งกันหาลูกค้าดีกว่า
โมเดลของ NT นี้ เหมือนเส้นผมบังภูเขา เพราะกำลังทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ทั้งการไฟฟ้าฯ โอเปอเรเตอร์โทรคม ประเทศชาติและประชาชน ที่จะได้วิวทิวทัศน์ท้องถนนที่สวยงาม ไร้ปัญหาสายสื่อสารรกรุงรัง
มรกต เธียรมนตรี เกิด 27 ธันวาคม 2508
จบปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แล้วไปจบโทสาขาเดียวกันที่ม.เกษตรศาสตร์
ทำงานกับองค์การโทรศัพท์ หรือทีโอที.มายาวนาน เติบโตในสายงานจนขึ้นระดับบริหาร เป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ โยกย้ายดูแลทั้งสายตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สายงานขายและบริกาคภาครัฐ-เอกชน ธุรกิจขายและบริการลูกค้าองค์กร สายงานพัฒนาองค์กร
บอร์ดแต่งตั้งเป็น รักษาการ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ การควบรวมกับบมจ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย (CAT)
เมื่อฝ่าด่านจนรวมกันเป็น NT หรือบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT นั่งเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่รับผิดชอบด้านโครงสร้างพื้นฐาน
นำร่องปีนี้ 3-4 เส้นทาง เริ่มเดือน มิ.ย.ที่ถนนเยาวราช ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ระยะทาง 3 กิโลเมตร งบประมาณ 10 ล้านบาท ก่อนจะลุยขยายผลในที่อื่น ๆ ต่อไป
มรกต เธียรมนตรี
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ (NT)
คอลัมน์สปอตไลต์ หน้า 4 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,884 วันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ.2566