น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดให้วาฬสีน้ำเงิน หรือมีช่ออย่างเป็นทางการว่า Balaenptera musculus เป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติม โดยได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน (ฉบับที่...) พ.ศ. ....
ทั้งครม.ยังอนุมัติให้รวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกันกับร่าง พ.ร.ฎ. ที่ครม. ได้อนุมัติเมื่อวันที่ 6 ก.ย. 65 ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดให้นกชนหิน หรือ นกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวน โดยหลังจากนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะได้ดำเนินการตามขึ้นตอน เพื่อรวม พ.ร.ฎ. ทั้ง 2 ฉบับเป็นกฎหมายฉบับเดียวต่อไป
สำหรับการกำหนดให้ทั้งวาฬสีน้ำเงิน และ นกชนหินหรือนกหิน เป็นสัตว์ป่าสงวนนี้ เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนของมาตรา 6 วรรคสอง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ซึ่งบัญญัติว่าในกรณีที่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว่าเห็นว่าสัตว์ป่าชนิดใดสมควรกำหนดเป็นสัตว์ป่าสงวนเพิ่มเติมจากที่บัญญัติไว้ในท้าย พ.ร.บ.ฯ ให้ออกเป็น พ.ร.ฎ.
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ก่อนจะเสนอเป็นสัตว์ป่าสงวน วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ป่าควบคุม ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรราชาติและสิ่งแวดล้อม โดยวาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีแหล่งอาศัยในพื้นที่ทางทะเลระหว่างประเทศ ในประเทศไทยเองมีข้อมูลการพบเห็นวาฬสีน้ำเงินเฉพาะทะเลฝั่งอันดามันเพียง 3 ครั้ง แต่เนื่องด้วยในอดีตถูกล่าจับเป็นจำนวนมากเพื่อนำเนื้อและไขมันมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และประมงพื้นบ้าน ขณะที่แหล่งอาหารที่ลดลงจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและความเป็นกรดในทะเล ส่งผลต่อการสืบพันธุ์
ดังนั้นองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จึงได้ขึ้นบัญชีให้วาฬสีน้ำเงินมีสถานะเป็นชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species : EN) หรืออยู่ในบัญชี IUCN Red List ซึ่งประเทศไทยก็ได้ขึ้นบัญชีวาฬสีน้ำเงินเป็นชนิดพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์เช่นกัน (Thailand Red Data)
ทั้งนี้เมื่อกฎหมายมีผลบังคับให้เป็นสัตว์ป่าสงวนแล้วทั้งวาฬสีน้ำเงิน และนกชนหินหรือนกหิน จะได้รับการอนุรักษ์และดูแลอย่างเข้มงวดตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 เช่นเดียวกับสัตว์ป่าสงวน แนบท้าย พ.ร.บ.ฯ ที่ปัจจุบันมี 4 จำพวก 19 ชนิด ได้แก่