อธิบดีกรมที่ดิน ลงนามประกาศใช้ระเบียบฯคุ้มครองชาวบ้าน “ขายฝาก” ที่ดิน ฉบับใหม่ โดยเมื่อ วันที่ 25 พ.ค.2566 ที่ผ่านมา นายชยาวุธ จันทร อธิบดีกรมที่ดิน ลงนามประกาศระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ ณ สำนักงานที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566
มีเนื้อหาสาระ ดังนี้ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ ณ สำนักงานที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ.2562 ให้สอดคล้องหลักการมาตรา 18 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ.2562
จึงให้เพิ่มเติมข้อความต่อไปนี้ เป็นข้อ 9 วรรคสอง แห่งระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ ณ สำนักงานที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ.2562 ดังนี้
เมื่อผู้ขายฝากได้ชำระสินไถ่หรือวางสินไถ่ต่อสำนักงานที่ดิน โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้แล้ว ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินมีคำสั่งรับวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ และได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ซื้อฝากทราบ พร้อมกับให้มารับเงินอันเป็นสินไถ่และนำหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินมาจดทะเบียนไถ่จากขายฝากตามข้อ 8 แล้ว
หากพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หรือพ้นกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ถือว่าได้รับแจ้งตามมาตรา 71 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราซการทางปกครอง พ.ศ.2539
แต่ผู้ซื้อฝากไม่มาโดยไม่ติดต่อหรือแจ้งเหตุขัดข้อง หรือมาแต่ไม่ส่งมอบหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ขายฝาก ให้ถือว่าหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมเป็นอันตรายอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สามารถออกใบแทนเพื่อจดทะเบียนไถ่จากขายฝากให้ผู้ขายฝากได้ ตามนัยมาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2547 ข้อ 17 (1) ทั้งนี้ การดำเนินการออกใบแทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ