กอนช. แจ้งเตือน 23 จังหวัดเสี่ยง "น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก" 

15 ก.ค. 2566 | 23:00 น.

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ประกาศแจ้งเตือน "เหนือ-อีสาน-กลาง-ตะวันออก" รวม 23 จังหวัดเฝ้าระวังเสี่ยง "น้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก" 18 - 21 ก.ค. 66 จะมีอำเภอไหน จังหวัดใดบ้าง ตรวจสอบรายละเอียดได้ที่นี่

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ แจ้งเตือนประชาชน เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 18-21 กรกฎาคม 2566 โดยประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 10/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก

ทั้งนี้ ตามประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 9/2566 เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 ประกอบกับ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศ เรื่อง พายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 2 พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน 

มีแนวโน้มทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำและขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 18 - 19 กรกฎาคม 2566 และในช่วงวันที่ 16-20 กรกฎาคม 2566 ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง 

ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ 

ทั้งนี้ กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำจากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี

พบพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน

ในช่วงวันที่ 18 - 21 กรกฎาคม 2566 เพิ่มเติมจากประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 9/2566 ดังนี้

ภาคเหนือ

1.จังหวัดเชียงใหม่

  • อำเภอแม่แจ่ม
  • อำเภอจอมทอง
  • อำเภอฮอด
  • อำเภออมก๋อย

2.จังหวัดน่าน

  • อำเภอนาน้อย 

3.จังหวัดอุตรดิตถ์

  • อำเภอฟากท่า

4.จังหวัดพิษณุโลก

  • อำเภอเนินมะปราง
  • อำเภอวังทอง

5.จังหวัดเพชรบูรณ์

  • อำเภอเมืองเพชรบูรณ์
  • อำเภอหล่มสัก
  • อำเภอวิเชียรบุรี
  • อำเภอบึงสามพัน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

6.จังหวัดหนองคาย

  • อำเภอสังคม
  • อำเภอโพธิ์ตาก
  • อำเภอท่าบ่อ

7.จังหวัดบึงกาฬ

  • อำเภอพรเจริญ
  • อำเภอศรีวิไล
  • อำเภอโซ่พิสัย
  • อำเภอเมืองบึงกาฬ

8.จังหวัดสกลนคร

  • อำเภอกุสุมาลย์
  • อำเภอวานรนิวาส
  • อำเภอคำตากล้า
  • อำเภอบ้านม่วง
  • อำเภออากาศอำนวย

9.จังหวัดเลย

  • อำเภอนาด้วง
  • อำเภอปากชม

10.จังหวัดหนองบัวลำภู

  • อำเภอสุวรรณคูหา
  • อำเภอนากลาง

11.จังหวัดอุดรธานี

  • อำเภอทุ่งฝน
  • อำเภอหนองหาน
  • อำเภอพิบูลย์รักษ์
  • อำเภอน้ำโสม
  • อำเภอนายูง
  • อำเภอบ้านผือ
  • อำเภอกุดจับ

12.จังหวัดนครพนม

  • อำเภอปลาปาก
  • อำเภอเรณูนคร
  • อำเภอนาแก
  • อำเภอเมืองนครพนม
  • อำเภอธาตุพนม

13.จังหวัดมุกดาหาร

  • อำเภอดงหลวง

14.จังหวัดชัยภูมิ

  • อำเภอคอนสวรรค์
  • อำเภอหนองบัวแดง
  • อำเภอแก้งคร้อ

15.จังหวัดอุบลราชธานี

  • อำเภอวารินชำราบ
  • อำเภอนาจะหลวย
  • อำเภอเดชอุดม
  • อำเภอสำโรง
  • อำเภอน้ำยืน
  • อำเภอทุ่งศรีอุดม
  • อำเภอน้ำขุ่น
  • อำเภอสิรินธร
  • อำเภอพิบูลมังสาหาร
  • อำเภอเมืองอุบลราชธานี

เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 18-21 กรกฎาคม 2566

16.จังหวัดนครราชสีมา

  • อำเภอปากช่อง 

17.จังหวัดบุรีรัมย์

  • อำเภอกระสัง 

18.จังหวัดสุรินทร์

  • อำเภอสังขะ
  • อำเภอศีขรภูมิ  
  • อำเภอลำดวน
  • อำเภอเมืองสุรินทร์
  • อำเภอเขวาสินรินทริ์
  • อำเภอบัวเชด
  • อำเภอศรีณรงค์

19.จังหวัดศรีสะเกษ

  • อำเภอขุขันธ์
  • อำเภอภูสิงห์
  • อำเภอปรางค์กู่
  • อำเภอเมืองศรีสะเกษ
  • อำเภอกันทรารมย์
  • อำเภออุทุมพรพิสัย
  • อำเภอยางชุมน้อยน้ำเกลี้ยง
  • อำเภอโนนคูณ
  • อำเภอพยุห์
  • อำเภอกันทรลักษ์
  • อำเภอวังหิน
  • อำเภอเบญจลักษ์
  • อำเภอศรีรัตนะ
  • อำเภอราศีไศล
  • อำเภอไพรบึง

ภาคกลาง

20.จังหวัดกาญจนบุรี

  • อำเภอทองผาภูมิ
  • อำเภอสังขละบุรี

21.จังหวัดสระบุรี

  • อำเภอแก่งคอย
  • อำเภอมวกเหล็ก
  • อำเภอวิหารแดง

ภาคตะวันออก

22.จังหวัดจันทบุรี

  • อำเภอเมืองจันทบุรี
  • อำเภอแหลมสิงห์
  • อำเภอนายายอาม
  • อำเภอเขาคิชฌกูฏ

23.จังหวัดตราด

  • อำเภอแหลมงอบ
  • อำเภอเขาสมิง

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน

2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่10/2566

ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่10/2566