พายุตาลิม -มรสุมกำลังแรง กระทบไทย 40 จว.ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

19 ก.ค. 2566 | 05:27 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ค. 2566 | 05:42 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนฉบับที่ 19 "พายุตาลิม"อ่อนกำลังเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำแล้ว แต่ไทยยังอ่วม 40 จังหวัดมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เช็ครายชื่อพี้นที่เสี่ยงภัยที่นี่

วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับที่ 19 (ฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้) เรื่อง พายุ “ตาลิม” (TALIM) โดยเมื่อเวลา 07.00 น. พายุดีเปรสชัน “ตาลิม” (TALIM) บริเวณประเทศเวียดนามตอนบนได้ลดกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงแล้ว และจะสลายตัวในระยะต่อไป

 

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 19-20 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
 

จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้
วันที่ 19 กรกฎาคม 2566

  • ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ มุกดาหาร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง:จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี
  • ภาคตะวันออก:จังหวัดสระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้: จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 20 กรกฎาคม 2566

  • ภาคเหนือ:จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดหนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร  ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคกลาง:จังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี
  • ภาคตะวันออก:จังหวัดสระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้:จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง
     

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

อนึ่ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM ได้รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัยพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังในระยะสั้น พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง พื้นที่เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2566 เมื่อเวลา 08.00 น. โดยสามารถตรวจสอบพิกัดพื้นที่เสี่ยงดังต่อไปนี้ 

 

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขังในระยะสั้น
ภาคเหนือ 

  • น่าน (อ.เชียงกลาง) 
  • ตาก (อ.ท่าสองยาง แม่ระมาด แม่สอด พบพระ อุ้มผาง)

ภาคกลาง 

  • กาญจนบุรี (อ.สังขละบุรี)

ภาคใต้ 

  • ชุมพร (อ.เมืองฯ ท่าแซะ สวี พะโต๊ะ) 
  • ระนอง (ทุกอำเภอ) 
  • พังงา (อ.เมืองฯ คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง)

พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม
ภาคกลาง 

  • กาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ สังขละบุรี)

ภาคใต้

  • ชุมพร (อ.สวี) 
  • ระนอง (อ.เมืองฯ ละอุ่น กระบุรี กะเปอร์)

พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง
ภาคกลาง

  •  ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ภาคใต้ 

  • ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง
ภาคกลาง 

  • สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพมหานคร 

ภาคใต้ 

  • ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล



พื้นที่เฝ้าระวังน้ำสถานการณ์สาธารณภัย