กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันนี้ -8 พฤษภาคม 2567 (พยากรณ์อากาศล่วงหน้า) ในช่วงวันที่ 3 – 5 พ.ค. 67 ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 พ.ค. 67 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่
หลังจากนั้น แนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือการประกอบกิจกรรมในที่โล่งแจ้งเป็นระยะเวลานาน ส่วนในช่วงวันที่ 3 – 8 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง
สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย รวมทั้งระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย และเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 2 – 5 พ.ค. 67 สำหรับลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนอง ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 8 พ.ค. 67 ลมตะวันตกพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง
สำหรับชาวเรือในช่วงวันที่ 6 – 8 พ.ค. 67 ชาวเรือบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 2 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
กรุงเทพและปริมณฑล
วันที่ 2 – 3 พ.ค. 67
- อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน
วันที่ 4 – 5 พ.ค. 67
- อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
วันที่ 6 – 8 พ.ค. 67
- มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม.
ภาคเหนือ
วันที่ 3 – 5 พ.ค. 67
- อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 – 43 องศาเซลเซียส
วันที่ 6 – 7 พ.ค. 67
- มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ หลังจากนั้น มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ 3 – 5 พ.ค. 67
- อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39 – 43 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
วันที่ 6 – 7 พ.ค. 67
- มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ หลังจากนั้น มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ภาคกลาง
วันที่ 2 – 3 พ.ค. 67
- อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค
วันที่ 4 - 5 พ.ค. 67
- อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38 – 43 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
วันที่ 6 - 7 พ.ค. 67
- มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ หลังจากนั้น มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 – 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.
ภาคตะวันออก
วันที่ 2 – 3 พ.ค. 67
- อากาศร้อนถึงร้อนจัด กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค
วันที่ 4 – 5 พ.ค. 67
- อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
วันที่ 6 – 7 พ.ค. 67
- มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมทั้งมีฝนตกหนักบางพื้นที่ หลังจากนั้น มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
วันที่ 2 – 5 พ.ค. 67
- อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 34 – 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
วันที่ 6 – 8 พ.ค. 67
- มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
วันที่ 2 – 5 พ.ค. 67
- อากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 38 องศาเซลเซียส
วันที่ 6 – 8 พ.ค. 67
- มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร