เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ประวัติ หลัง กองทัพเรือ อัญเชิญ เรือลงน้ำ

08 ก.ค. 2567 | 09:05 น.
อัปเดตล่าสุด :10 ก.ค. 2567 | 10:19 น.

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ประวัติ หลัง กองทัพเรือ อัญเชิญเรือพระที่นั่ง ลงน้ำ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เตรียมจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

 เมื่อเร็ว ๆนี้ กองทัพเรือ อัญเชิญเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ ลงน้ำ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เพื่อเตรียมการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในการพระราชพิธี เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม 2567 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

โดยเมื่อเรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ ถูกอัญเชิญลงจากคาน นายเรือพร้อมกำลังพลประจำเรือ ได้ประกอบพิธีจุดธูปเทียนไหว้แม่ย่านางเรือ และถวายบังคมสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นจึงเคลื่อนจากคลองบางกอกน้อยออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ไปยังอู่ทหารเรือธนบุรี ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์  ลักษณะ

  • เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งรอง ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ลักษณะเด่นคือมีโขนเรือเชิดเรียว ไม่ได้สร้างเป็นรูปสัตว์ในตำนาน แต่จำหลักและปิดทองเป็นรูปพญานาคจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า อเนกชาติภุชงค์ (อเนก หมายถึง จำนวนมาก, ชาติภุชงค์ หมายถึง พญานาค)

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์  ประวัติ

  • เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก่อนหน้านี้ไม่ปรากฏชื่อเรือพระที่นั่งลำนี้ จัดเป็นเรือพระที่นั่งศรี ในลำดับชั้นรอง ใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินลำลอง ภายหลังนำเข้ากระบวนพยุหยาตราชลมารค เรียกว่า เรือพระที่นั่งรอง นับเป็นเรือพระที่นั่งลำเดียวที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 5

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ประวัติ

 

โขนเรือจำหลักปิดทองเป็นรูปพญานาคเล็ก ๆ จำนวนมาก ลำเรือภายนอกทาสีชมพู ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 45.50 เมตร กว้าง 3.15 เมตร ลึก 1.11 เมตร กินน้ำลึก .46 เมตร กำลัง 3.50 เมตร ใช้ฝีพาย 61 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คน ถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่ 1 คน

ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ริมคลองบางกอกน้อย ใกล้สะพานอรุณอมรินทร์.

ที่มา: กองทัพเรือ