เตือนพายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 1 ไทยฝนตกหนัก-เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-คลื่น 4 เมตร

17 ก.ย. 2567 | 06:52 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ก.ย. 2567 | 07:02 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน “พายุดีเปรสชัน ฉบับที่1” จ่อถล่มไทย 20-23 ก.ย. นี้ ฝนตกหนักทั่วประเทศ เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก 5 ภาค คลื่นทะเลสูงถึง 4 เมตร เรือเล็กงดออกจากฝั่ง เช็คพื้นที่เสี่ยงภัยด่วน

นางสาวกรรวี  สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ลงนามในประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “ดีเปรสชัน” ฉบับที่ 1 (193/2567) ระบุว่า 

เมื่อเวลา 10.00 น. ของวันนี้ (17 ก.ย. 67) พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 17.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 119.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เตือนพายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 1 ไทยฝนตกหนัก-เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-คลื่น 4 เมตร เตือนพายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 1 ไทยฝนตกหนัก-เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-คลื่น 4 เมตร

พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน 
 

และคาดว่าในช่วงวันที่ 20 – 21 ก.ย. 67 จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก 

โดยภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักมากบางแห่ง และมีลมแรงในช่วงวันที่ 20–23 ก.ย. 67

เตือนพายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 1 ไทยฝนตกหนัก-เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-คลื่น 4 เมตร

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 17–21 ก.ย. 67 ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่บริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น 

โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร 

ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประกาศ ณ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 11.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น.

 

เตือนพายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 1 ไทยฝนตกหนัก-เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-คลื่น 4 เมตร

 

ด้าน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เปิดเผยรายงานสถานการณ์น้ำประจำวันที่ 17 กันยายน 2567 ว่า 

 

พื้นที่เฝ้าระวัง:

  • น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขังในเขตเมือง บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครราชสีมา ตราด จันทบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี นครนายก ระนอง พังงา ภูเก็ต ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง สตูล นราธิวาส และยะลา ตั้งแต่วันที่ 17-19 ก.ย. 67
  • ระดับน้ำในแม่น้ำโขงที่เพิ่มสูงขึ้นจะทำให้เกิดน้ำท่วมขังเนื่องจากการระบายน้ำจากฝนที่จะตกหนักลงสู่ลำน้ำสาขาไปยังแม่น้ำโขงไม่ได้ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ให้ติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ช่วงวันที่ 17-19 ก.ย. 67
  • การก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มเคลื่อนที่ลงสู่ทะเลจีนใต้ และอาจทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุ และอาจเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ให้ติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

 

ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง

  • ประเทศไทยมีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายตัวทั่วทุกภูมิภาค และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดตราด 262 มม. ภูเก็ต 244 มม. พังงา 134 มม. สุราษฎร์ธานี 132 มม. กระบี่ 124 มม. สตูล 118 มม. ตรัง 114 มม. พะเยา 107 มม. ลำปาง 99 มม. อุดรธานี 97 มม. หนองบัวลำภู 94 มม.

เตือนพายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 1 ไทยฝนตกหนัก-เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-คลื่น 4 เมตร

สถานการณ์น้ำ:

  • ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีระดับน้ำน้อยถึงปานกลาง ภาคกลางมีระดับน้ำปานกลางถึงมาก ส่วนภาคใต้มีระดับน้ำน้อยถึงปานกลาง
  • พบน้ำล้นตลิ่งในหลายพื้นที่ เช่น แม่น้ำยม จ.พิษณุโลก, แม่น้ำเลย จ.เลย, ห้วยหลวง จ.อุดรธานี, แม่น้ำสงคราม จ.สกลนคร, ห้วยบังอี่ จ.มุกดาหาร, ห้วยปากแซง จ.อุบลราชธานี, คลองละงู และคลองฉลุง จ.สตูล, คลองชี จ.ตรัง
  • อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่: ปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศ 48,630 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 69% ของความจุ โดยเขื่อนที่มีปริมาณน้ำมาก ได้แก่
    • เขื่อนสิริกิติ์: 84%
    • เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล: 85%
    • เขื่อนห้วยหลวง: 80%
    • เขื่อนวชิราลงกรณ: 74%