วันที่ 19 กันยายน 2567 กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฯฉบับที่ 9 เรื่อง พายุ “ซูลิก” เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันนี้ (19 ก.ย. 67) พายุดีเปรสชันบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ซูลิก” แล้ว และเมื่อเวลา 10.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ห่างจากทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองกวางตรี ประเทศเวียดนามประมาณ 90 กิโลเมตร หรือที่ละติจูด 17.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.9 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตก ด้วยความเร็วประมาณ 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางในคืนนี้ (19 ก.ย. 67) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ
ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
วันที่ 19 กันยายน 2567
วันที่ 20 กันยายน 2567
วันที่ 21 กันยายน 2567
วันที่ 22-23 กันยายน 2567
สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น.
อนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ตั้งศูนย์อำนวยการติดตามสถานการณ์พายุโซนร้อนซูลิก โดยศูนย์ฯดังกล่าว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ร่วมกับศูนย์อุตุนิยมวิทยาภูมิภาค ทั้ง 5 ศูนย์ ประกอบด้วย ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดขอนแก่น ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก จังหวัดสงขลา และศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก จังหวัดภูเก็ต จะรายงานสภาพอากาศในพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบและเตรียมพร้อมรายงานข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้อย่างทันท่วงที
สำหรับการทำงานของศูนย์อำนวยการฯ จะมีการ Conference กับสถานีอุตุนิยมวิทยาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ร่วมกันประเมินสถานการณ์ของพายุ เพื่อจะได้ข้อมูลช่วยในการประเมินสถานการณ์ให้มีความแม่นยำมากขึ้น
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา น.ส. แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 312/2567 แต่งตั้งคณะกรรมคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย ชุดแรก เป็นคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.)
พร้อมทั้งจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่กำลังเกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ทำหน้าที่เป็นหน่วยบัญชาการหลักในการประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้จับตาพายุลูกนี้มาอย่างต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 19 กันยายน 2567 โดยแจ้งพื้นที่แต่ละจังหวัดแต่ละอำเภอ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ระดับแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น , พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น ,พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ,พื้นที่เฝ้าระวังระดับแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น , พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม ,พื้นที่เฝ้าระวังทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำและพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง และพื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง โดยรายละเอียดมีดังต่อไปนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคใต้
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคใต้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคใต้
ภาคกลาง
ภาคใต้
ภาคกลาง
ภาคใต้
ภาคกลาง
ภาคใต้