วันที่ 26 กันยายน 2567 สืบเนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันที่มีฝนตกทางพื้นที่ตอนบนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีปริมาณไหลลงสู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น กรมชลประทาน จึงได้ทยอยปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำทางตอนบนและฝนที่ตกในระยะนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา-แม่น้ำน้อย รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ
จึงขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำและพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ เฝ้าระวังระดับน้ำจากฝนที่ตกสะสมในพื้นที่และปริมาณน้ำจากทางตอนบนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น และมีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยากรมชลประทานจะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป
สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์
สถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
อนึ่ง ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน ได้คาดการณ์สถานการณ์น้ำใน 1-7 วันข้างหน้า ที่สถานี C.2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 2,000-2,100 ลบ.ม./วินาที และคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำท่า (Side flow) สมทบกับน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยายกตัวสูงขึ้นอีก
ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำสอดคล้องกับปริมาณน้ำทางตอนบนและฝนที่ตกในพื้นที่ กรมชลประทาน จึงได้ทยอยปรับการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราไม่เกิน 2,000 ลบ.ม./วินาที โดยจะระบายน้ำแบบขั้นบันได ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ บริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา แม่น้ำน้อย บริเวณตำบลหัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 1-1.50 เมตร
กรมชลประทาน จึงได้ออกประกาศแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา 11 จังหวัด ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากมีแนวโน้มที่ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และมีความจำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา กรมชลประทานจะแจ้งให้ทราบต่อไป โดย 11 จังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังมีดังนี้