เตือนภาคเหนือ เฝ้าระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากพื้นที่เดิม

30 ก.ย. 2567 | 12:57 น.
อัปเดตล่าสุด :30 ก.ย. 2567 | 13:18 น.

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ เตือนภาคเหนือเฝ้าระวังฝนตกหนักซ้ำพื้นที่เสี่ยงเดิม ในช่วงวันที่ 30 ก.ย.-2 ต.ค.67

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ(องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เตือนภาคเหนือฝนตกซ้ำในพื้นที่เสี่ยงเดิมในช่วงวันที่ 30 กันยายน -2 ตุลาคม 2567 รวมไปถึงฝนตกหนักในประเทศเมียนมาที่ต้นน้ำของลุ่มน้ำสาย และลุ่มน้ำกก ซึ่งดินยังคงอิ่มตัว อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงติดตามและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

 

สำหรับพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งจากฝนตกหนักซ้ำที่เดิม ประกอบไปด้วย

  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • พะเยา
  • น่าน
  • แพร่
  • ลำปาง
  • ลำพูน
  • สุโขทัย
  • พิษณุโลก
  • แม่ฮ่องสอน
  • เพชรบูรณ์
  • ตาก
  • กำแพงเพชร

 

เตือนภาคเหนือ เฝ้าระวังฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากพื้นที่เดิม

 

ทั้งนี้เนื่องจากมวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาปะทะกับความชื้นบริเวณประเทศไทยตอนบนส่งให้มีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณจังหวัดดังกล่าว ทั้งนี้ฝนจะตกหนักไปถึงภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากด้วยเช่นเดียวกัน


 

ขณะที่สถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทย ปัจจุบันข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานว่ามีพื้นที่ประสบอุทกภัย18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ ตาก เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย หนองคาย อุดรธานี ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี ปราจีนบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และยะลา รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 71 อำเภอ 295 ตำบล 1,496 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 41,136 ครัวเรือน รายละเอียด ดังนี้ 
 

สถานการณ์อุทกภัยน้ำท่วมในประเทศไทย

ภาคเหนือ รวม 9 จังหวัด 40 อำเภอ 143 ตำบล 724 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 19,951 ครัวเรือน 

  1. เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.เวียงป่าเป้า อ.แม่สรวย และ อ.แม่ลาว รวม 12 ตำบล 108 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,892 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  2. เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สารภี อ.หางดง และ อ.สันป่าตอง รวม 13 ตำบล 13 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,022 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  3. ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่พริก อ.สบปราบ อ.เถิน และ อ.เกาะคา รวม 14 ตำบล 69 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,489 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  4. ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ป่าซาง อ.บ้านธิ อ.ทุ่งหัวช้าง อ.แม่ทา อ.เวียงหนองล่อง และ อ.บ้านโฮ่ง รวม 29 ตำบล 234 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,113 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  5. แพร่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ลอง อ.วังชิ้น อ.สูงเม่น อ.เมืองฯ และ อ.เด่นชัย รวม 22 ตำบล 86 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,151 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  6. ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก รวม 5 ตำบล 39 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,912 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  7. เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ชนแดน อ.ศรีเทพ อ.หล่มเก่า อ.หนองไผ่ และ อ.หล่มสัก รวม 7 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 738 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  8. พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์ รวม 26 ตำบล 103 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,694 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  9. สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง และ อ.เมืองฯ รวม 15 ตำบล 51 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,940 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 5 จังหวัด 19 อำเภอ 69 ตำบล 359 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,463 ครัวเรือน 

  1. หนองคาย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ศรีเชียงใหม่ อ.ท่าบ่อ อ.เมืองฯ และ อ.โพนพิสัย รวม 26 ตำบล 146 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 7,717 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  2. อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 6 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 270 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  3. ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ อ.จัตุรัส และ อ.เมืองฯ รวม 9 ตำบล 36 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 101 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  4. มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.กันทรวิชัย อ.โกสุมพิสัย และ อ.เชียงยืน รวม 19 ตำบล 123 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  5. อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เขมราฐ อ.โพธิ์ไทร อ.นาตาล อ.โขงเจียม อ.เมืองฯ และ อ.สว่างวีระวงศ์ รวม 9 ตำบล 31 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 352 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาคตะวันออก รวม 1 จังหวัด 4 อำเภอ 6 ตำบล 32 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,003 ครัวเรือน 

  1. ปราจีนบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.ประจันตคาม อ.กบินทร์บุรี อ.ศรีมหาโพธิ อ.นาดี และ อ.เมืองฯ รวม 6 ตำบล 32 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,003 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาคกลาง รวม 2 จังหวัด 7 อำเภอ 75 ตำบล 379 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,719 ครัวเรือน 

  1. อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.วิเศษชัยชาญ รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 100 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  2. พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน และ อ.บางไทร รวม 74 ตำบล 376 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 11,619 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น

ภาคใต้ รวม 1 จังหวัด 1 อำเภอ 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน 

  1. ยะลา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.ยะหา รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง