สถานการณ์น้ำท่วมเชียงใหม่ยังคงวิกฤตหนัก โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำปิง ล่าสุดวันที่ 5 ตุลาคม 2567 ระดับน้ำในแม่น้ำปิงยังคงสูงเกินระดับตลิ่งในหลายพื้นที่ ทั้งอำเภอเชียงดาว แม่แตง สันทราย และเมืองเชียงใหม่
ศูนย์อุทกภัยวิทยาชลประทานภาคเหนือตอนบน สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำ วันที่ 5 ตุลาคม 2567 ระดับน้ำลุ่มน้ำปิงยังคงวิกฤตหนัก โดยสถานการณ์น้ำ แม่น้ำปิง วันที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 17:00 น. อ.แม่แตง - อ.สันทราย - อ.เมืองเชียงใหม่ ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง
สถานี P.20 อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ม.(ร.ท.ก.) ระดับตลิ่ง 2.5 ม.(ร.ท.ก.) ระดับน้ำ 1.65 ม.(ร.ท.ก.) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.85 ม.
สถานี P.75 อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ระดับตลิ่ง 3 ม.(ร.ท.ก.) ระดับน้ำ 3.62 ม.(ร.ท.ก.) สูงกว่าตลิ่ง 0.62 ม.
สถานี P.67 อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ระดับตลิ่ง 3.8 ม.(ร.ท.ก.)ระดับน้ำ 3.75 ม.(ร.ท.ก.) ต่ำกว่าตลิ่ง 0.62 ม.
สถานี P.1 อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ระดับตลิ่ง 3.7 ม.(ร.ท.ก.) ระดับน้ำ 5.09 ม.(ร.ท.ก.) สูงกว่าตลิ่ง 1.39 ม.
ก่อนหน้านี้ สำนักงานชลประทานที่ 1 ออกประกาศ ฉบับที่ 20/2567 เรื่อง แจ้งเตือนระดับน้ำวิกฤติแม่น้ำปิง ที่สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระบุ
ด้วยในช่วงวันที่ 1-4 ตุลาคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลาง จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือ ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคเหนือ ส่งผลให้พื้นที่ภาคเหนือ มีอากาศแปรปรวน
โดยมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับอิทธิพลจากลักษณะอากาศดังกล่าว ส่งผลให้มีฝนตกกระจายทั่วทั้งจังหวัดในเกณฑ์หนักถึงหนักมาก
ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงและน้ำสาขาในพื้นที่ตอนบนมีปริมาณพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิง เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 น. ที่ผ่านมา
สถานี P.1 แม่น้ำปิงที่สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระดับน้ำ +5.28 เมตร (สูงกว่า ระดับตลิ่ง 1.85 เมตร) และสูงกว่าระดับวิกฤติ (ระดับหลังคันป้องกันน้ำท่วมเมืองของเทศบาลนครเชียงใหม่ที่ รองรับน้ำหลากระดับ +4.20 เมตร) ประมาณ 1.08 เมตร มีปริมาณน้ำ 652.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยู่ ในเกณฑ์วิกฤติ แนวโน้มปริมาณน้ำทรงตัว
สถานี P.67 แม่น้ำปิงที่บ้านแม่แต อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ระดับน้ำ +5.60 เมตร (สูงกว่า ระดับตลิ่ง 1.80 เมตร) ปริมาณน้ำ 807.20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ได้ผ่านจุดระดับน้ำสูงสุดที่ +5.98 เมตร (สูงกว่าระดับตลิ่ง 2.18 เมตร) ปริมาณน้ำสูงสุด 860.40 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 เวลา 20.00 น. ที่ผ่านมา ปัจจุบันยังอยู่ในเกณฑ์วิกฤติ แนวโน้มปริมาณน้ำลดลง
สถานี P.21 (น้ำแม่ริม) ระดับน้ำ +4.61 เมตร (สูงกว่าระดับตลิ่ง 0.81 เมตร) ปริมาณน้ำ 69.77 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ผ่านจุดระดับน้ำสูงสุดที่ +5.21 เมตร (สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.41 เมตร) ปริมาณน้ำสูงสุด 82.67 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 เวลา 20.00 น. อยู่ในเกณฑ์วิกฤติ แนวโน้มปริมาณ น้ำลดลง
ฝายแม่แตง (น้ำแม่แตง) อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณน้ำผ่านฝาย 261.08 ลูกบาศก์ เมตรต่อวินาที โดยมีปริมาณน้ำสูงสุดที่ไหลผ่านฝาย 732.65 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2567 เวลา 11.00 น. ที่ผ่านมา ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ฝายสินธุกิจปรีชา (ฝายแม่แฝก) แม่น้ำปิงที่อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณน้ำไหลผ่าน ฝาย 357.880 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แนวโน้มปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น]
สถานการณ์น้ำในแม่น้ำปิงที่สถานี P.1 สะพานนวรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ผ่าน จุดสูงสุดที่ระดับ +5.28 เมตร เมตร (สูงกว่าระดับตลิ่ง 1.58 เมตร) และสูงกว่าระดับวิกฤติ (ระดับหลังคัน ป้องกันน้ำท่วมเมืองของเทศบาลนครเชียงใหม่ที่รองรับน้ำหลากระดับ +4.20 เมตร) ประมาณ 1.08 เมตร ปริมาณน้ำ 652 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2567 เวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา โดยจะมีระดับน้ำทรงตัวระยะหนึ่ง และเริ่มลดระดับลง
อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนบนยังมีการเคลื่อนตัวของมวลน้ำใหญ่ก้อนสุดท้ายจากแม่น้ำปิง ตอนบน (อำเภอเชียงดาว) ที่เกิดจากปริมาณฝนที่ตกหนักเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา (ปริมาณน้ำสูงสุด 459.50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)
สำนักงานชลประทานที่ 1 คาดหมายว่ามวลน้ำในแม่น้ำปิงจากอำเภอเชียงดาว จะไหลผ่านที่สถานี P.1 ในวันที่ 6 ตุลาคม 2567 เวลาประมาณ 01.00-02.00 น.
โดยมวลน้ำดังกล่าวจะทำให้ ปริมาณน้ำที่สถานี P.1 อยู่ที่ระดับประมาณ +5.10 เมตร หากไม่มีฝนตกในพื้นที่ และหลังจากนั้นระดับน้ำที่สถานี P.1 จะทรงตัวระยะหนึ่ง แล้วจะค่อยๆ ลดระดับลงจนอยู่ในสภาพการไหลปกติในทางน้ำภายใน 5 วัน
จากการคาดหมายสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงข้างต้น ขอแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงที่จะประสบอุทกภัย จากน้ำปิงเอ่อล้นตลิ่ง ดังนี้
1. พื้นที่ลุ่มต่ำตามแนวแม่น้ำปิง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย อำเภอเชียงดาว อำเภอแม่แตง อำเภอแม่ริม อำเภอเมือง เทศบาลนครเชียงใหม่ อำเภอสารภี อำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทอง และอำเภอฮอด และในพื้นที่จังหวัดลำพูน ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอป่าซาง อำเภอเวียงหนองล่อง และอำเภอบ้านโฮ่ง
2. พื้นที่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ในพื้นที่เสี่ยงทุกโซน (โซนที่ 1-7) รวมถึงพื้นที่ตอนล่างที่มี บริเวณติดต่อกับพื้นที่โซนที่ 7 (พื้นที่ในเขตอำเภอสารภี ที่เคยเกิดอุทกภัยในช่วงวันที่ 26-28 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา)
ทั้งนี้ สำนักงานชลประทานที่ 1 จะติดตาม/เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และรายงานให้ทราบ อย่างต่อเนื่อง