วันที่ 7 ตุลาคม 2567 กรมชลประทาน ได้รายงานสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาพร้อมทั้งแผนการปรับเพิ่ม -ปรับลดของเขื่อนเจ้าพระยาและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
เนื่องจากปริมาณน้ำสะสมทางตอนบนเริ่มไหลลงสู่ลุ่มเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น กรมชลประทาน จำเป็นต้องปรับเพิ่มการระบายน้ำแบบขั้นบันไดผ่านเขื่อนเจ้าพระยา โดยจะควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพของพื้นที่ สำหรับการระบายน้ำในอัตราดังกล่าว จะส่งผลให้ระดับน้ำบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณ
แนวโน้มระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น โดยกรมชลประทาน เผยว่าหากระดับน้ำทางตอนบนเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ ต่อไป
สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์
สถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท
โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ให้สอดคล้องกับการคาดการณ์น้ำท่าที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักฯ ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยจะทยอยปรับลดการระบายน้ำแบบขั้นบันได จาก 200 ลบ.ม./วินาที เป็น 150 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 7 ตุลาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. และจะปรับลดการระบายจาก 150 ลบ.ม./วินาที เป็น 100 ลบ.ม./วินาที ในวันที่ 8 ตุลาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายน้ำ
สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ ข้อมูล ณ วันที่ 6 ต.ค.67 มีปริมาณน้ำในอ่างฯประมาณ 657 ล้าน ลบ.ม. (68% ของความจุอ่าง) มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 25.71 ล้าน ลบ.ม./วัน ปริมาณการระบาย 17.30 ล้าน ลบ.ม./วัน
ทั้งนี้กรมชลประทาน ได้ออกมารายงานสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน โดยระบุว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำสายหลักเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแม่น้ำปิง ที่จังหวัดเชียงใหม่ ฝนที่ตกชุกกระจายทางตอนบนของลุ่มน้ำปิง ส่งผลให้เกิดน้ำหลากในลำน้ำสาขาของแม่น้ำปิงก่อนจะไหลลงมาสมทบในแม่น้ำปิง ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นไหลเข้าท่วมพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่และพื้นที่เศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในขณะนี้ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงลดลงอย่างต่อเนื่องแล้ว ซึ่งปริมาณน้ำจากลำน้ำปิงจะไหลลงสู่เขื่อนภูมิพลทั้งหมด ทำให้เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มมากขึ้น สำหรับสำรองไว้ใช้ฤดูแล้งหน้าได้อย่างเพียงพอ
ขณะที่สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 19,650 ล้าน ลบ.ม. (79% ของความจุอ่างฯ รวมกัน) ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 5,221 ล้าน ลบ.ม.
กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำที่ไหลมาจากทางตอนบน ด้วยการเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด พร้อมบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตอนกลาง ด้วยการหน่วงน้ำไว้ในพื้นที่ลุ่มต่ำและแก้มลิงธรรมชาติ
ส่วนปริมาณน้ำที่เหลือจะไหลลงสู่ลุ่มเจ้าพระยา ที่สถานีวัดระดับน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ คาดการณ์ว่าในช่วง 1 - 7 วันข้างหน้า ที่สถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 2,200 - 2,500 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยายกตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ตามศักยภาพของคลองและสอดคล้องกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ พร้อมควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 2,400 ลบ.ม./วินาที ในช่วงนี้ เพื่อลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนให้ได้มากที่สุด ซึ่งการระบายน้ำในอัตราดังกล่าว จะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น
ในขณะที่พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ที่สถานีวัดน้ำ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 1,990 ลบ.ม/วินาที หรือคิดเป็น 56% ของความจุลำน้ำ ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าว ยังไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่อาจจะมีผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำ หรือในพื้นที่ที่มีระดับตลิ่งต่ำ ในช่วงที่มีน้ำทะเลหนุนสูง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลที่อยู่ในแนวคันกั้นน้ำ กรมชลประทาน ได้ติดตามสถานการณ์น้ำฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำด้วยการพร่องน้ำในคลองสาขาต่างๆ ตลอดจนบูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานคร ในการบริหารจัดการน้ำในจุดที่เชื่อมต่อกัน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนและปริมาณน้ำในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด