กางข้อมูล 2 ปัจจัย โฆษกฯเกษตรฯ มั่นใจ "น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล"

07 ต.ค. 2567 | 08:45 น.
อัปเดตล่าสุด :07 ต.ค. 2567 | 08:55 น.

โฆษกฯกระทรวงเกษตร เปิดข้อมูล 2 ปัจจัย สถานการณ์น้ำในเขื่อนและการระบายน้ำ ที่ยืนยัน น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล แต่แนะให้เฝ้าระวังพื้นที่ริมแม่น้ำช่วงน้ำทะเลหนุนสูง

วันนี้ (7ต.ค.67) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำผ่านระบบ Video Conference ไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1 - 17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำแหล่งน้ำและแม่น้ำสายหลักต่างๆ โดยมีการยืนยันว่าน้ำจะไม่ท่วมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยอ้างอิงจากข้อมูล 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยและการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา 

กางข้อมูล 2 ปัจจัย โฆษกฯเกษตรฯ มั่นใจ \"น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล\"

สถานการณ์น้ำในเขื่อน

นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา  ระบุว่า สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้นประมาณ 19,650 ล้านลบ.ม. (79% ของความจุอ่างฯรวมกัน) ยังสามารถรองรับน้ำได้รวมกันอีกกว่า 5,221 ล้านลบ.ม.

กระทรวงเกษตรฯโดยกรมชลประทานจึงได้บริหารจัดการน้ำที่ไหลมาจากทางตอนบนด้วยการเก็บกักน้ำไว้ในอ่างเก็บน้ำให้ได้มากที่สุดพร้อมบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตอนกลางด้วยการหน่วงน้ำไว้ในพื้นที่ลุ่มต่ำและแก้มลิงธรรมชาติ

กางข้อมูล 2 ปัจจัย โฆษกฯเกษตรฯ มั่นใจ \"น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล\"

การระบายน้ำ

ส่วนปริมาณน้ำที่เหลือจะไหลลงสู่ลุ่มเจ้าพระยาที่สถานีวัดระดับน้ำ C.2 อ.เมืองจ.นครสวรรค์ คาดการณ์ว่าในช่วง 1 - 7 วันข้างหน้าที่สถานีวัดน้ำ C.2 จ.นครสวรรค์จะมีปริมาณน้ำไหลผ่านประมาณ 2,200 - 2,500 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยายกตัวสูงขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งกรมชลประทานได้บริหารจัดการน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยาตามศักยภาพของคลองและสอดคล้องกับปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่พร้อมควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาทให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 2,400 ลบ.ม./วินาที ในช่วงนี้ เพื่อลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายเขื่อนให้ได้มากที่สุดซึ่งการระบายน้ำในอัตราดังกล่าวจะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น 

ในขณะที่พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างที่สถานีวัดน้ำ อ.บางไทรจ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 1,990 ลบ.ม/วินาทีหรือคิดเป็น 70% ของความจุลำน้ำ

“ซึ่งปริมาณน้ำดังกล่าวยังไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แต่อาจจะมีผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำหรือในพื้นที่ที่มีระดับตลิ่งต่ำในช่วงที่มีน้ำทะเลหนุนสูง”

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลที่อยู่ในแนวคันกั้นน้ำกรมชลประทานได้ติดตามสถานการณ์น้ำฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด พร้อมเตรียมรับมือสถานการณ์น้ำด้วยการพร่องน้ำในคลองสาขาต่างๆตลอดจนบูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานครในการบริหารจัดการน้ำในจุดที่เชื่อมต่อกันให้สอดคล้องกับสถานการณ์ฝนและปริมาณน้ำในพื้นที่เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนและพื้นที่เศรษฐกิจให้ได้มากที่สุด

กางข้อมูล 2 ปัจจัย โฆษกฯเกษตรฯ มั่นใจ \"น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล\"
     

ภาพรวมปริมาณน้ำในอ่างขนาดใหญ่

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. เปิดเผยข้อมูล ปริมาณน้ำในอ่างขนาดใหญ่ วันที่ 7 ต.ค. 67 ระบุว่า 

  • ปริมาณน้ำกักเก็บรวมทั้งประเทศ 55,919 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 79% ของความจุ ซึ่งมีปริมาณน้ำกักเก็บอยู่ในน้ำปานกลางถึงน้ำมาก โดยเป็นน้ำใช้การ 32,380 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ เขื่อนที่มีปริมาณน้ำมากได้แก่
  • เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 113 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 108 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
  • เขื่อนห้วยหลวง มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 98 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 93 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
  • เขื่อนกิ่วคอหมา มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 95 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 92 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
  • เขื่อนแม่มอก มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 95 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 81 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
  • เขื่อนน้ำอูน มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 94 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 85 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
  • เขื่อนลำปาว มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 94 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 89 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
  • เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 94 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 64 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก

กางข้อมูล 2 ปัจจัย โฆษกฯเกษตรฯ มั่นใจ \"น้ำไม่ท่วมกรุงเทพฯ-ปริมณฑล\"

  • เขื่อนขุนด่านปราการชล มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 93 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 91 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
  • เขื่อนนฤบดินทรจินดา มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 89 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 84 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
  • เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 84 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 61 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก
  • เขื่อนกิ่วลม มีปริมาณน้ำเก็บกักร้อยละ 79 โดยเป็นน้ำใช้การร้อยละ 76 สถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำมาก