เตือน 6 จังหวัดภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม

14 ต.ค. 2567 | 04:20 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ต.ค. 2567 | 04:29 น.

ปภ.เตือนพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม เช็คเลยมีจังหวัดใดบ้าง พร้อมอัปเดตพื้นที่น้ำท่วมล่าสุด 14 ต.ค.67

วันที่ 14 ตุลาคม 2567 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงภัย อันประกอบไปด้วย พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น ,เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ,เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง ,เฝ้าระวังดินถล่ม ทั้งนี้จะมีพิกัดจังหวัดไหน พื้นที่ใดบ้างนั้น สามารถตรวจสอบได้ดังต่อไปนี้ 


เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น

  • นครศรีธรรมราชสงขลา ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต

เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

  • ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม

เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง

  • ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล

 เฝ้าระวังดินถล่ม 

  • ยะลา

ด้านสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช.ได้ออกประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่ 13–17 ต.ค. 67 เนื่องจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก และร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนบน 

 

ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80   และเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน  น้ำล้นตลิ่ง และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขัง เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ จังหวัดกาญจนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส 

เฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่ง ช่วงวันที่  13 – 17 ตุลาคม 2567

อนึ่งปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุดประจำภาคต่างๆ ได้แก่ ภาคใต้ : จ.ภูเก็ต ภาคกลาง : ชัยนาท ภาคเหนือ : จ.สุโขทัย ภาคตะวันออก : จ.ตราด ภาคตะวันตก : จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.ศรีสะเกษ 

 

ขณะที่พื้นที่อุทกภัย ข้อมูล ณ  วันที่ 14 ตุลาคม 2567 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบจำนวน 11 จังหวัด

  1. จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ)
  2. จ.ลำปาง (อ.แม่พริก)
  3. จ.พิษณุโลก (อ.เมืองฯ วัดโบสถ์ วังทอง พรหมพิราม บางระกำ บางกระทุ่ม และนครไทย)
  4. จ.สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสำโรง ศรีสัชนาลัย กงไกรลาศ คีรีมาศ ทุ่งเสลี่ยม และสวรรคโลก)
  5. จ.นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ)
  6. จ.ชัยนาท (อ.เมืองฯ มโนรมย์ วัดสิงห์ และสรรพยา)
  7. จ.สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ พรหมบุรี และอินทร์บุรี)
  8. จ.สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ เดิมบางนางบวช สามชุก บางปลาม้า ศรีประจันต์ สองพี่น้อง อู่ทอง และดอนเจดีย์)
  9. จ.อ่างทอง (อ.เมืองฯ ป่าโมก วิเศษชัยชาญ และไชโย)
  10. จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ เสนา และบางไทร)
  11.  จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี บางเลน และกำแพงแสน)    

 

จังหวัดที่อยู่ในระหว่างการฟื้นฟู  2 จังหวัด ได้แก่

  1. จ.เชียงราย (อ.เมืองฯ แม่สาย แม่ลาว เวียงป่าเป้า เวียงชัย และเชียงแสน)
  2.  จ.เชียงใหม่ (อ.สารภี)