"เขื่อนเจ้าพระยา"ปรับลดการระบายน้ำ เช็คระดับน้ำเจ้าพระยาล่าสุดที่นี่

14 ต.ค. 2567 | 05:46 น.
อัปเดตล่าสุด :14 ต.ค. 2567 | 05:52 น.

กรมชลประทาน ปรับลดการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา หวังลดผลกระทบพื้นที่ท้ายเขื่อน ด้านกทม.อัปเดตสถานการณ์น้ำเจ้าพระยาล่าสุด ตรวจสอบระดับน้ำที่นี่

กรมชลประทาน ได้รายงานว่า ในวันที่ 14 ตุลาคม 2567 จะทยอยปรับลดการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา จาก 1,751 ลบ.ม./วินาที ลดเหลือ 1,650 ลบ.ม./วินาที (และคงอัตราดังกล่าวต่อเนื่อง) ภายในสามทุ่มคืนนี้ ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้นในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ประกอบกับสถานการณ์น้ำทะเลหนุน ดังนั้นเพื่อลดผลกระทบพื้นที่ด้านท้ายเขื่อน ทางเขื่อนเจ้าพระยาจะทยอยปรับลดการระบายน้ำ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • เวลา 09.00 น. จากอัตรา 1,751 ลบ.ม./วิ เหลืออัตรา 1,700 ลบ.ม./วิ ในเวลา 12.00 น.
  • เวลา 18.00 น. จากอัตรา 1,700 ลบ.ม./วิ เหลืออัตรา 1,650 ลบ.ม./วิ ในเวลา 21.00 น.

 


สถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2567 เวลา เวลา 07.00 น.

สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์

  • ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,976 ลบ.ม./วินาที
  • แนวโน้ม : ลดลง
  • ระดับน้ำ : ต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 2.95 ม. ลดลงจากเมื่อวาน 29 ซม.

สถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท

  • ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,751 ลบ.ม/วินาที
  • แนวโน้ม : ลดลง
  • ระดับน้ำท้ายเขื่อน : ต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 2.64 ม. ลดลงจากเมื่อวาน 44 ซม.
     

สถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา ประจำวันที่ 14 ตุลาคม 2567

ด้านกรุงเทพมหานคร โดยสำนักการระบายน้ำ ได้รายงานระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ต.ค. 67 สถานะปลอดภัย โดยวัดระดับน้ำได้ดังต่อไปนี้ 


สถานีวัดระดับน้ำ คลองบางเขนใหม่

  • ระดับน้ำต่ำกว่าสันเขื่อน -1.58 เมตร

สถานีวัดระดับน้ำ ปากคลองตลาด

  • ระดับน้ำต่ำกว่าสันเขื่อน -1.15 เมตร

สถานีวัดระดับน้ำ บางนา

  • ระดับน้ำต่ำกว่าสันเขื่อน -1.04 เมตร

สำนักการระบายน้ำ รายงานระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา

อนึ่งก่อนหน้านั้น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)ได้ออกประกาศเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ในช่วงวันที่ 13–24 ต.ค. 67 ด้วยอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับมวลน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำไหลลงมาสมทบทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง โดยมีพื้นที่เสี่ยงดังนี้

  1. สมุทรปราการ
  2. กรุงเทพมหานคร
  3. นนทบุรี
  4. ปทุมธานี
  5. สมุทรสาคร
  6. นครปฐม
  7. สมุทรสงคราม