9 เครื่องดนตรี พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค 2567

25 ต.ค. 2567 | 06:25 น.
อัปเดตล่าสุด :25 ต.ค. 2567 | 07:19 น.

9 เครื่องดนตรี พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

วันที่ 27 ตุลาคม 2567 เป็นวันจัดขบวนเรือพยุหยาตรา เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขอเชิญพสนิกรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน 

โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม ตลอด 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่สะพานพระราม 8 จนถึงวัดอรุณราชวราราม  ในวันอาทิตย์ที่ 27  ตุลาคม 2567  ตั้งแต่เวลา 15.00 – 17.00 น.

 

 

 

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ  28 กรกฎาคม 2567 ประกอบด้วย 9 เครื่องดนตรี ดังนี้

กลองชนะทอง

  • มีรูปร่างและส่วนประกอบเช่นเดียวกับกลองแขกและกลองมลายู แต่ตัวกลองสั้นและอ้วนกว่ากลองทั้งสอง ในขบวนพยุหยาตราชลมารคจะประกอบด้วยกลองชนะ 4  สี ได้แก่ กลองชนะทอง กลองชนะเงิน กลองชนะเขียวลายเงิน และกลองชนะแดงลายทองคำ

กลองชนะทอง

กลองชนะเงิน

  • มีรูปร่างและส่วนประกอบเช่นเดียวกับกลองแขกและกลองมลายู แต่ตัวกลองสั้นและอ้วนกว่ากลองทั้งสอง ในขบวนพยุหยาตราชลมารคจะประกอบด้วยกลองชนะ 4  สี ได้แก่ กลองชนะทอง กลองชนะเงิน กลองชนะเขียวลายเงิน และกลองชนะแดงลายทอง

กลองชนะเงิน

 

 กลองชนะเขียวลายเงิน

  • มีรูปร่างและส่วนประกอบเช่นเดียวกับกลองแขกและกลองมลายู แต่ตัวกลองสั้นและอ้วนกว่ากลองทั้งสอง ในขบวนพยุหยาตราชลมารคจะประกอบด้วยกลองชนะ 4  สี ได้แก่ กลองชนะทอง กลองชนะเงิน กลองชนะเขียวลายเงิน และกลองชนะแดงลายทอง

  กลองชนะเขียวลายเงิน

 

กลองชนะแดงลายทอง

มีรูปร่างและส่วนประกอบเช่นเดียวกับกลองแขกและกลองมลายู แต่ตัวกลองสั้นและอ้วนกว่ากลองทั้งสอง ในขบวนพยุหยาตราชลมารคจะประกอบด้วยกลองชนะ 4 สี ได้แก่ กลองชนะทอง กลองชนะเงิน กลองชนะเขียวลายเงิน และกลองชนะแดงลายทอง

กลองชนะแดงลายทอง

กลองมโหระทึก

  • ประกอบด้วยหน้ากลองและลำตัว หน้ากลองตกแต่งด้วยลายพระอาทิตย์ และลายเรขาคณิต ลักษณะของลำตัวกลองมีส่วนบนที่บานออก ส่วนกลางตัดตรง ส่วนฐานโค้งและผายออก และมีหูกลองติดอยู่  ไม้ตีกลองมี 2  อัน ทำด้วยไม้รวกหรือไม้จริงเหลากลมเกลี้ยง ขนาดพอเหมาะ ตรงปลายที่ใช้ตีพันด้วยผ้าจนแน่นแล้วผูกเคียน หรือถักด้วยด้าย ประเทศไทยได้พบหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลองมโหระทึกในสมัยสุโขทัย คือ ไตรภูมิพระร่วง ความว่า “บ้างขับสรรพสำเนียงเสียงหมู่นักคุนจุนกันไปเดียรดาษ พื้นฆ้องกลองแตรสังข์ระฆังกังสดาลมหรทึกกึกก้องทำนุกดี” และในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้ว่ามีการใช้กลองมโหระทึกตีประโคมร่วมกับแตรสังข์ ในงานพระราชพิธีต่าง ๆ  เช่น การเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

กลองมโหระทึก

สังข์ 

  • เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งทำจากเปลือก หอยสังข์ โดยนำมาขัดให้เกลี้ยงเกลา และเจาะก้นหอยให้ทะลุเป็นรูสำหรับเป่า  ไทยได้แบบอย่างมาจากอินเดีย การเป่าสังข์ถือว่าเป็นของขลังศักดิ์สิทธิ์ ใช้เฉพาะงานที่มีเกียรติศักดิ์สูงและใช้เป่าคู่กันกับแตรมาตลอด

สังข์ 

แตรงอน 

  • มีรูปร่างโค้งงอน ตอนปลายบาน เข้าใจว่าประดิษฐ์ขึ้นโดยเลียนแบบมาจากเขาสัตว์ ซี่งเป็นเครื่องป่าดั้งเดิมของมนุษย์ ไทยได้แบบอย่างมาจากอินเดีย สำหรับใช้เป่าเป็นสัญญาณในขบวนเห่และในงานพระราชพิธี ปัจจุบันแตรงอนใช้ร่วมกับสังข์ในงานพระราชพิธี

 

แตรงอน

 แตรฝรั่ง

  • มีลักษณะปากบานคล้ายดอกลำโพง  เป็นเครื่องประโคมสำหรับพระราชอิสริยยศพระมหากษัตริย์ โดยใช้ประโคมเวลาเสด็จพระราชดำเนินขบวนพยุหยาตรา

ปี่ชวา

ปี่ชวา

  • ป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้นปี่

ที่มา:พระลาน