กรมอุตุฯเตือนฉบับสุดท้าย "พายุจ่ามี" ไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง 28-29 ต.ค.67

28 ต.ค. 2567 | 05:51 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ต.ค. 2567 | 05:58 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศฉบับสุดท้าย พายุจ่ามี สลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงแล้ว แต่ยังกระทบไทยมีฝนตกหนักวันนี้ -29 ต.ค.67 เช็คพิกัดพื้นที่เสี่ยงภัยที่นี่

วันที่ 28 ตุลาคม 2567เวลา 11.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 16  เรื่อง พายุ “จ่ามี”กระทบไทยหลายจังหวัดคาดว่าจะมีฝนตกหนักดังนี้


วันที่ 28 ตุลาคม 2567 

  • ภาคตะวันออก: จังหวัดจันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้:จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 29 ตุลาคม 2567 

  • ภาคใต้: จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

 

ทั้งนี้เมื่อเวลา 07.00 น. ของวันนี้ (28 ต.ค. 2567) พายุโซนร้อน “จ่ามี” บริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลางได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันแล้ว และเมื่อเวลา 10.00 น. ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองลดลง ส่วนลมตะวันตกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง

 

ในช่วงวันที่ 28–29 ต.ค. 67 ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
 

สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือ ในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

หลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้


 

ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ได้รายงานการแจ้งเตือนสาธารณภัย ประจำวันที่ 28 ตุลาคม 2567 โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น และเฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง สามารถตรวจสอบพิกัดพื้นที่เสี่ยงดังนี้

เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น

  •  จันทบุรี และตราด

 เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

  • พิษณุโลก พิจิตร สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม