อัปเดตล่าสุด “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน” ค่าโดยสารเท่าไร-ผ่านสถานีไหนบ้าง

09 พ.ย. 2567 | 22:30 น.

เช็คราคาล่าสุด “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน” ค่าโดยสารเท่าไร ผ่านกี่สถานี ฟาก BEM ผู้รับสัมปทาน เดินหน้าอัดโปรโมชั่นส่วนลด อุ้มผู้สูงอายุ-เด็กนักเรียน ราคาพิเศษ

“โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน”  1 ในระบบขนส่งสาธารณะทางรางที่ให้บริการรถไฟฟ้าในรูปแบบใต้ดินและบนดิน ซึ่งแนวเส้นทางจะผ่านสถานที่สำคัญและถนนเส้นทางหลักหลายแห่งในกรุงเทพฯ เช่น ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ,ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ,ลาดพร้าว,พระราม 9 ,หัวลำโพง,สุขุมวิท ฯลฯ 

จากที่ประชุม ครม. มีมติเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 67 ปรับขึ้นค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินอัตราใหม่ ต่ำสุด 17 บาท สูงสุด 45 บาท นั้น

ล่าสุดบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM  ได้แจ้งอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) ใหม่ มีผลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 – 2 กรกฎาคม 2569 

ขณะเดียวกันการปรับขึ้นค่าโดยสาร “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน” นั้นเป็นไปตามสัญญาสัมปทานที่กำหนดให้ปรับอัตราค่าโดยสารทุกระยะเวลา 24 เดือน หรือทุก 2 ปี ภายใต้พื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงตามความเป็นจริงของดัชนีราคาผู้บริโภค

ทั้งนี้มีอัตราค่าโดยสารเต็มราคาเริ่มต้นที่ 17 บาท สูงสุด 45 บาท (จากเดิมเริ่มต้น 17 บาท สูงสุด 43 บาท) ซึ่งจะปรับเพิ่มขึ้น 1 บาท ณ จำนวนสถานีที่เดินทางที่ 2, 3, 4, 5, 6, 7, 9 และ 11 นับจากสถานีต้นทาง 

หลังจากนั้นจะปรับเพิ่มขึ้น 2 บาทจากเดิม ณ จำนวนสถานีที่เดินทางที่ 8, 10 และ 12 สถานีเป็นต้นไป ทั้งนี้ยังคงมีส่วนลดพิเศษสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ 50% และสำหรับนักเรียน นักศึกษา 10% ของอัตราค่าโดยสารบุคคลทั่วไป
 

อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้า mrt สายสีน้ำเงิน ปรับราคาใหม่ ดังนี้

สถานี 0-1 ราคา 17 บาท
สถานีที่ 2 ราคา 20 บาท
สถานีที่ 3 ราคา  22 บาท
สถานีที่ 4 ราคา  25 บาท
สถานีที่ 5  ราคา 27 บาท

สถานีที่ 6 ราคา 30 บาท
สถานีที่ 7 ราคา 32 บาท
สถานที่ 8 ราคา 35 บาท
สถานีที่ 9 ราคา 37 บาท

สถานีที่ 10 ราคา  40 บาท
สถานีที่ 11 ราคา 42 บาท
สถานีที่ 12 ขึ้นไป ราคา 45 บาท

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทางรวม 48 กม. จำนวน 38 สถานี แบ่งเป็น 3 แนวเส้นทาง ดังนี้

โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงสถานีหัวลำโพง – สถานีบางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร จำนวน 18 สถานี ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ประกอบด้วย

  • BL11 สถานีบางซื่อ
  • BL12 สถานีกำแพงเพชร 
  • BL13 สถานีสวนจตุจักร
  • BL14 สถานีพหลโยธิน
  • BL15 สถานีลาดพร้าว
  • BL16 สถานีรัชดาภิเษก
  • BL17 สถานีสุทธิสาร
  • BL18 สถานีห้วยขวาง
  • BL19 สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
  • BL20 สถานีพระราม 9
     
  • BL21 สถานีเพชรบุรี
  • BL22 สถานีสุขุมวิท
  • BL23 สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  • BL24 สถานีคลองเตย
  • BL25 สถานีลุมพินี
  • BL26 สถานีสีลม
  • BL27 สถานีสามย่าน
  • BL28 สถานีหัวลำโพง


โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน สถานีหัวลำโพง – สถานีหลักสอง ระยะทาง 16 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 4 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี รวม 11 สถานี เป็นโครงสร้างทางวิ่งผสมทั้งใต้ดินและยกระดับ ประกอบด้วย

  • BL28 สถานีหัวลำโพง
  • BL29 สถานีวัดมังกร
  • BL30 สถานีสามยอด
  • BL31 สถานีสนามไชย
  • BL32 สถานีอิสรภาพ
  • BL33 สถานีบางไผ่
  • BL34 สถานีท่าเรือบางหว้า
  • BL35 สถานีเพชรเกษม 48 
  • BL36 สถานีภาษีเจริญ
  • BL37 สถานีบางแค
  • BL38 สถานีหลักสอง 

โครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ – สถานีท่าพระ ระยะทาง 12 กิโลเมตร เป็นสถานียกระดับ 8 สถานี มีโครงสร้างทางวิ่งยกระดับตลอดสาย  ประกอบด้วย

  • BL11 สถานีบางซื่อ
  • BL10 สถานีเตาปูน
  • BL09 สถานีบางโพ
  • BL08 สถานีบางอ้อ
  • BL07 สถานีบางพลัด
  • BL06 สถานีสิรินธร
  • BL05 สถานีบางยี่ขัน
  • BL04 สถานีบางขุนนนท์
  • BL03 สถานีไฟฉาย
  • BL02 สถานีจรัญฯ 13
  • BL01 สถานีท่าพระ