นิพนธ์”กำชับภาคกลางพร้อมรับมือมรสุม

26 ส.ค. 2563 | 12:45 น.

“นิพนธ์”กำชับภาคกลางเตรียมความพร้อมรับมือฤดูมรสุม เน้นย้ำการบริหารจัดการ"สร้างที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้น้ำไหล" ลดความเสี่ยงน้ำท่วม-น้ำแล้ง

วันที่ 26 ส.ค. 63 ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 2 สุพรรณบุรี นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) พร้อมด้วย นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รองผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ภาคกลาง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันตรวจติดตามการเตรียมความพร้อมด้านสรรพกำลังและทรัพยากรเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย พร้อมรับชมการฝึกซ้อมเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแบบบูรณาการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบในการรับสถานการณ์อุทกภัย

  นิพนธ์”กำชับภาคกลางพร้อมรับมือมรสุม

 นายนิพนธ์ กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมรับมือ ป้องกัน เผชิญเหตุ และช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพก่อนที่จะถึงช่วงฤดูมรสุม กระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้บูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนธิกำลังด้านหน่วยปฏิบัติการและเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยในพื้นที่ เพื่อให้มีความพร้อมรองรับสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้น  

 

โดยต้องมีการเตรียมพร้อมด้านกำลังคน เครื่องมือเครื่องจักรกล แผนปฏิบัติการ รวมถึงระบบการสื่อสาร ให้สามารถรองรับและจัดการสถานการณ์ภัยต่างๆ ทั้งก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และวางแผนการฟื้นฟู 
 

 

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมจึงถือเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ มีประสิทธิภาพ สามารถลดความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างทันท่วงที

นิพนธ์”กำชับภาคกลางพร้อมรับมือมรสุม

“ได้เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการแจ้งเตือนภัยที่เป็นระบบ รวดเร็ว และเข้าถึงประชาชนได้ตรงจุด สร้างเครือข่ายภาคประชาสังคม อาสาสมัครกู้ชีพ กู้ภัยในพื้นที่ เพื่อร่วมกันสร้างความปลอดภัยให้แก่พี่น้องประชาชน ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีบทเรียนในการเกิดอุทกภัยบ่อยครั้งเช่น ผลกระทบจากพายุโพดุล ก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก”

นิพนธ์”กำชับภาคกลางพร้อมรับมือมรสุม

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมจึงถือเป็นกลไกสำคัญในการบูรณาจัดการในภาวะฉุกเฉินตามแผนที่กำหนด จัดสรรพกำลังร่วมกับทุกหน่วยงาน ซักซ้อมแผนให้พร้อมดูแลประชาชนและสามารถบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ  

“ประการสำคัญ คือ เรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้วยเช่นเดียวกัน เพราะต้นทุนน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ ของประเทศไทยได้มาจากน้ำฝน โดยเมื่อตกลงมาแล้วจะนำน้ำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนได้อย่างไร  ซึ่งได้ย้ำอยู่เสมอว่า ต้องสร้างที่ให้น้ำอยู่ ทำทางให้น้ำไหล จึงเป็นแนวคิดที่ทุกฝ่ายต้องบูรณาการให้เกิดขึ้นต่อไป” นายนิพนธ์ กล่าว