อธิบดีศาลทุจริตฟ้อง“เลขาฯศาล” สั่งยกฟ้อง! ไม่ใช่เจตนาใส่ความ

10 มิ.ย. 2564 | 11:31 น.

บานปลาย! “อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตฯ” ฟ้องหมิ่นประมาท “เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม” อ้างใส่ความให้เสียหายเสียชื่อเสียง จากการชี้แจงผลสอบสวนข้อเท็จจริงต่อสื่อ ศาลอาญาตัดสินยกฟ้องเหตุไม่มีเจตนาใส่ความ 

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2564 นายปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค 1 ปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นโจทก์ เข้ายื่นฟ้อง นายพงษ์เดช วานิชกิตติกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นจำเลย ต่อศาลอาญา ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยไม่มีการเรียกร้องทุนทรัพย์ 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาบ่ายของวันที่ 10 มิ.ย.2564 ศาลอาญา รัชดาภิเษก อ่านคำพิพากษายกฟ้องคดีที่ นายปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ที่ปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ส่งทนายความยืนฟ้อง นายพงษ์เดช  วานิชกิตติกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เป็นจำเลย ในความผิดฐาน คดีหมิ่นประมาท 

ศาลพิเคราะแล้วเห็นว่า การที่จำเลยให้ข่าวต่อสื่อมวลชน ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยคิดแต่งเรื่องราวขึ้นมาเอง จึงเป็นลักษณะที่จำเลยทำตามหน้าที่ โดยไม่ปรากฏในเบื้องต้นจำเลยมีเจตนาใส่ความโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลย จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.328 ประกอบ มาตรา 326 จึงพิพากษา “ให้ยกฟ้อง” 

 

สำหรับคดีนี้ โจทย์ระบุว่า การที่ นายพงษ์เดช วานิชกิตติกูล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ชี้แจงเพิ่มเติมกรณีการตรวจสอบข้อเท็จจริงของอดีตอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ถูกร้องเรียนกล่าวหาว่าเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการพิจารณา ว่า ตามที่ได้ชี้แจงถึงเหตุและขั้นตอนการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และพิจารณาย้ายนายปรเมษฐ์ โตวิวัฒน์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค 1 ปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งอื่นชั่วคราว กรณีถูกร้องเรียนกล่าวหาว่าเข้าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซงการพิจารณา คดีหมายเลขดำ อท.84/2563 (คดีที่รองเลขาธิการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องกรรมการ ป.ป.ช.และอัยการสูงสุด) ในศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของคู่ความและกระบวนการยุติธรรมไปแล้วเมื่อวันที่ 7 มิถุนายนนั้น 

ล่าสุด ยังคงปรากฏบทความข่าวเผยแพร่ข้อมูลที่อาจทำให้สังคมเกิดข้อสงสัยและความเข้าใจผิดคลาดเคลื่อนในประเด็นที่ว่า นายปรเมษฐ์ เมื่อช่วงดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค 1 ได้เป็นเจ้าของสำนวนดังกล่าวอยู่แต่เดิม การย้ายนายปรเมษฐ์ เพื่อเปลี่ยนเจ้าของสำนวน หรือไม่นั้น 

สำนักงานศาลยุติธรรม ขอชี้แจงในประเด็นข้อเท็จจริงนี้ว่า เมื่อมีการฟ้องคดีในศาลแล้วตามขั้นตอนจะต้องมีการจ่ายสำนวนให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนและผู้พิพากษาอีกท่านเป็นองค์คณะ ผู้พิพากษารับผิดชอบดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไปตามระเบียบและกฎหมาย  

 

สำหรับคดีนี้จากการสอบข้อเท็จจริงพบว่า เดิมมีการจ่ายสำนวนให้องค์คณะรับผิดชอบคดีแล้ว ในชั้นการพิจารณาว่าจะรับฟ้องไว้ไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่ มีการยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของฝ่ายโจทก์เข้ามา เกิดความเห็นที่ขัดแย้งกันระหว่างองค์คณะและอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 องค์คณะจึงขอคืนสำนวน ต่อมาอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค 1 จ่ายสำนวนให้ผู้พิพากษาท่านอื่นเป็นเจ้าของสำนวนและองค์คณะรับผิดชอบคดี องค์คณะที่สองนี้ก็มีความเห็นทางกฎหมายที่ขัดกับอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค 1 อีก จนมีการขอคืนสำนวนอีกครั้ง แล้วอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตฯ ภาค 1 จึงจ่ายสำนวนให้ตนเองเป็นเจ้าของสำนวนร่วมกับผู้พิพากษาในศาลอีกท่านเป็นงองค์คณะ ฝ่ายจำเลยจึงร้องขอความเป็นธรรมขึ้นมา จนมีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงขึ้น ตามข่าวแจกสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 

แต่ในความจริงแล้ว ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 1 มีผู้พิพากษาในศาล 3 คณะๆละ 2 ท่าน และเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 563 โจทก์ในคดีดังกล่าวได้ฟ้องประธานกรรมการ ปปช.เป็นจำเลยที่  กรรมการปปช.เป็นจำเลยที่ 2 และอัยการสูงสุดเป็นจำเลยที่ 3 ฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานน่สมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (ตามเอกสารคำฟ้องแนบ)ซึ่อ้างถึงการปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์

ข้อ 5 การที่จำเลยเป็นผู้พิพากษาที่มีความรู้ทางด้านกฎหมายและนำข่าวแจกสื่อมวลชนจึงเป็นการใส่ความโจทก์ด้วยการโฆษณาตามกฎหมายอาญา มาตรา 326 328 และมาตรา 91

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :