ชำแหละขบวนการ "ไอ้โม่ง ป." หากินกับราคาหมูแพง

13 ม.ค. 2565 | 05:20 น.
อัปเดตล่าสุด :13 ม.ค. 2565 | 12:35 น.

2 บก.ชำแหละปัญหา “หมูแพง” ที่กำลังทิ่มแทงรัฐบาลอยู่ในขณะนี้ พบต้นตอหนึ่งเกิดจากขบวนการ "ไอ้โม่ง ป." หากินกับราคาหมูแพง

รายการเนชั่นอินไซด์ ที่ดำเนินรายการโดย โอ-บากบั่น บุญเลิศ และ วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษร ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22 ได้ชำแหละปัญหาราคา “หมูแพง” ที่กำลังทิ่มแทงรัฐบาลอยู่ขณะนี้ มีการประเมินกันว่า ราคาหมูทั้งปีจะยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่ำ 30-35% และปัญหา “ราคาหมูแพง” กำลังกลายเป็นบ่วงรัดคอ

 

ทั้งนี้ โรค ASF เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2562 นำเสนอเรื่องเข้าครม. เพื่อเตรียมงบประมาณต่างๆ ในการรับมือ แต่หัวใจของโรคที่ติดทุกวันนี้ คือ “กรมปศุสัตว์” ยอมรับแล้วว่ามีการติดเชื้อในพื้นที่ แต่เชื้อมาจากไหนตรงนี้เป็นปัญหาสำคัญ

มีคนหากินกับหมู คือ “ไอ้โม่ง ป.” ซึ่งหากินกับเรื่องหมูๆ และนำมาซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เรื่องราวของหมูที่ราคาแพงตอนนี้พุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี

 

ราคาหมูปีนี้ทั้งปีจะอยู่ที่ 190-230 บาท/กก. นี่คือสถิติที่บ่งบอกในหลายๆ เรื่อง  แสดงว่าตัวปัญหาคือการเอา “สุกรมีชีวิต” ออกไปข้างนอก โดยการประเมินว่า สุกรภายในประเทศน่าจะเพียงพอ ทั้งๆ ที่หากพยากรณ์ได้ก็จะรับรู้เลยว่าสุกรภายในประเทศและการบริโภคภายในประเทศจะมีปัญหา

เมื่อปี 2563 ประเทศเพื่อนบ้านเป็นโรคนี้ก่อน ขาดแคลนหมูอย่างมาก และไทยมีการส่งออกไปขายประเทศเพื่อนบ้าน

 

ข้อมูลเกษตรกรเลี้ยงหมู 187,272 ราย

 

รายย่อย 184,091 ราย

 

เลี้ยงหมูขุน 2,247,332 ตัว


หมูพันธุ์ 390,993 ตัว

 

ลูกหมู 689,562 ตัว

 

รายใหญ่ 3,181 ราย

 

เลี้ยงหมูขุน 5,746,265 ตัว


หมูพันธุ์ 683,998 ตัว

 

ลูกหมู 1,532,035 ตัว

 

แสดงให้เห็ตว่า การบริหารจัดการเชิงตัวเลข ปริมาณการเลี้ยงมีปัญหา

                                      ชำแหละขบวนการ \"ไอ้โม่ง ป.\" หากินกับราคาหมูแพง

 

ทั้งนี้ข้อมูลการผลิตและส่งออกสุกร เป็นดังนี้


ปี 2562 มีสุกร 22.53 ล้านตัว บริโภคภายในประเทศ 21.55 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศ 0.98 ล้านตัว


ปี 2563 มีสุกร 22.05 ล้านตัว บริโภคภายในประเทศ 19.23 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศ 2.82 ล้านตัว


ปี 2564 มีสุกร 19.67 ล้านตัว บริโภคภายในประเทศ 17.99 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศ 1.28 ล้านตัว


ปี 2565 มีสุกร 12.98 ล้านตัว บริโภคภายในประเทศ 11.98 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศ 1 ล้านตัว


สะท้อนว่า ถ้าปริมาณหมูภายในประเทศมีปัญหา ประเทศเพื่อนบ้านก็ติดเชื้อทั้งหมด จะทำอย่างไรที่จะดูแลภายในประเทศและแสวงหาโอกาสจากต่างประเทศ ต้องบริหารให้ดี และก่อนหน้านี้มีการออกมาเตือนโรคที่ติดเชื้ออหิวาต์แอฟริกันในหมูมีการระบาด 


เมื่อไปแกะรอยโรคอหิวาต์แอฟริกันในหมู (ASF) จะพบเส้นทางดังนี้


ส.ค. 61 มีรายงานพบการระบาดในจีน-อาเซียน


เม.ย. 62 ครม.อนุมัติแผนรับมือ ASF เป็นวาระแห่งชาติ


มี.ค. 63 ครม.อนุมัติงบฯกลาง 523 ล้านบาท ป้องกันโรค ASF

 

ก.พ. 64 ครม.อนุมัติงบกลาง 279 ล้านบาท ป้องกันโรค ASF


มี.ค. 64 FAO-OIE แจ้งเตือนภัยโรค ASF ในเอเชีย


มิ.ย. 64 


1. มีรายงานในหลายจังหวัดพบหมูตาย จากอาหารคล้ายโรค ASF 


2. สภาเกษตรแห่งชาติแจ้งระบาดไปทั่วประเทศ

 

ก.ค. 64 


1. พบหมูติด ASF ของผู้เลี้ยง 1 ราย ที่จ.ตาก เป็นหมูส่งมาจากเขต 5 จากการรายงานของกรมปศุสัตว์


2. กรมปศุสัตว์ของบกลาง 140 ล้านบาท เพื่อป้องกันโรค ASF


3. อธิบตีกรมปศุสัตว์ ปฏิเสธไม่มีโรค ASF ในไทย


4. มีการประชุมคณะทำงานปฏิเสธไม่มีโรค ASF ในไทย สอบถามว่า ควรจะเปิดเผยโรค ASF ดีหรือไม่


ส.ค.-พ.ย. 64 ฟาร์มรายกลาง-รายใหญ่ รายงานพบหมูตายเป็นจำนวนมากสงสัยติดโรค ASF


7 ธ.ค. 64 ภาคีคณบดีสัตวแพทย์ยืนยันพบโรค ASF ในซากหมูส่งตรวจ

 

7 ม.ค. 65 กุนเชียงไทยส่งไปไต้หวันพบโรค ASF ปนเปื้อน


11 ม.ค. 65 กรมปศุสัตว์ยืนยันพบ ASF ที่โรงฆ่านครปฐม

                                           ชำแหละขบวนการ \"ไอ้โม่ง ป.\" หากินกับราคาหมูแพง

 

และเมื่อไปดูเชื้อโรค ASF ในเนื้อหมูอยู่ได้นานแค่ไหน พบบ่า


-เนื้อหมูปรุงสุก (70 องศา นาน 30 นาที) 0 วัน


-เนื้อหมูรมควัน (ถอดกระดูก) 30 วัน


-เนื้อหมูแบบถอดกระดูก หรือเนื้อหมูบด 105 วัน


-เครื่องในหมู 105 วัน


-เนื้อหมูแช่เย็น 110 วัน


-เนื้อหมูหมักเค็ม 182 วัน


-เนื้อหมูตากแห้ง 300 วัน


-เลือดหมู (เก็บที่ 4 องศา) 18 เดือน


-เนื้อหมูแช่แข็ง 1,000 วัน                                     


เพราะฉะนั้นถ้าเราประกาศติดเชื้อ มันจะมีปัญหา แล้วใครที่กำกับดูแล เขาบอกว่า "ไอ้โม่ง ป." 
ผลงานโบว์แดงแสลงใจ คือ


-ผลักดันการนำเข้าวัว จนทะลักเข้ามา ท่ามกลางปัญหาโรคลัมปี สกินลามใน 41 จังหวัด


-การนำเข้ายา วัคซีน จากเนเธอร์แลนด์ แอฟริกาใต้


-การส่งออกหมูไปประเทศเพื่อนบ้านแค่ 5 ราย จากโบรกเกอร์ 11 ราย ราว 1.5 ล้านตัว จากการส่งออกทั้งหมด 2.45 ล้านตัว ในปี 63 มูลค่าราว 1 หมื่นล้านบาทเศษ


-กำกับไม่ให้กรมปศุสัตว์ประกาศว่าไทยมีโรค ASF ระบาดในหมู ท่ามกลางความกังวลของข้าราชการ
“ขาใหญ่”เหล่านี้ที่เป็นตัวกลาง ที่นำไปสู่เมื่อมีการส่งออก-นำเข้าหมู สิ่งเหล่านี้จึงเกิดปัญหา 

                              ชำแหละขบวนการ \"ไอ้โม่ง ป.\" หากินกับราคาหมูแพง


ตอนนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ประภัตร โพธสุธน ออกมากำกับดูแล เสนอกระทรวงพาณิชย์ให้นำเข้าหมูมาบริโภคภายในประเทศก่อน หลังจากที่ “หมูไทย” หายจากระบบ 


เบื้องต้นสามารถนำเข้าหมูจากเพื่อนบ้านในราคาถูกได้ภายใน 3 วัน ขอเพียงกระทรวงพาณิชย์อนุมัตินำเข้า ส่วนที่พบ ASF ในไทยคงไม่กระทบส่งออก เพราะขณะนี้หมูไทยไม่เพียงพอสำหรับการบริโภคในประเทศ ไม่มีให้ส่งออกแล้ว


ถามว่าก่อนหน้านี้กรมปศุสัตว์รู้หรือไม่ว่าหมูในตลาดจะขาดตลาด และราคาจะแพง ถ้าตัวเลขที่ประเมินในการพยากรณ์ข้างต้นรู้ แสดงว่ารู้ทั้งรู้ อยู่แก่ใจ แต่ทำไมจึงไม่สกัดปัญหาก่อนที่จะแพง

 

เพราะฉะนั้นเรื่องราคา “หมูแพง” ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากโรค ASF เพียงอย่างเดียว แต่มีคน “หาประโยชน์”จากเรื่องหมูๆ