“นิด้าโพล”ชี้ประชาชนส่วนใหญ่อยากให้นายกฯ“ยุบสภา”โดยเร็วที่สุด 

20 ก.พ. 2565 | 07:59 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ก.พ. 2565 | 15:08 น.

"นิด้าโพล”เปิดโพลประชาชน ส่วนใหญ่ 58.79% อยากให้นายกฯ “ยุบสภา”เร็วที่สุด เหตุรัฐบาลไม่มีความมั่นคงเลย ด้าน “สวนดุสิตโพล”สำรวจพิษเศรษฐกิจทำให้ประชาชนต้องประหยัด วางแผนการใช้จ่ายมากขึ้น เชื่ออาจมี “ยุบสภา”เพื่อเลือกตั้งใหม่ก่อนรัฐบาลครบเทอม

วันนี้(20 ก.พ.65) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบสภา…เมื่อไรดี” สำรวจระหว่างวันที่ 14-17 ก.พ.2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค จำนวน 1,313 หน่วยตัวอย่าง 

 

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการวางแผนยุบสภาของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า

 

ร้อยละ 68.09 ระบุว่า นายกฯ ไม่มีแผนจะยุบสภา แต่วางแผนจะอยู่ยาวจนครบวาระในปี 2566 


ร้อยละ 8.91 ระบุว่า ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจในปลายเดือนพฤษภาคม 2565


ร้อยละ 8.23 ระบุว่า หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมเอเปค ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในเดือนพฤศจิกายน 2565


ร้อยละ 6.09 ระบุว่า หลังจากกฎหมายลูก 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งประกาศใช้ ประมาณเดือนกรกฎาคม 2565


ร้อยละ 4.95 ระบุว่า หลังจากร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ ผ่านความเห็นชอบจากสภาประมาณเดือนสิงหาคม 2565


ร้อยละ 3.73 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

ส่วนความคิดเห็นของประชาชนต่อช่วงเวลาที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรยุบสภา พบว่า

 

ร้อยละ 58.79 ระบุว่า นายกฯ ควรยุบสภาโดยเร็วที่สุด

 

ร้อยละ 23.38 ระบุว่า นายกฯ ไม่ควรยุบสภาและให้อยู่ยาวจนครบวาระในปี 2566

 

ร้อยละ 5.18 ระบุว่า หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมเอเปค ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในเดือนพฤศจิกายน 2565

 

ร้อยละ 4.19 ระบุว่า ก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจในปลายเดือนพฤษภาคม 2565

 

ร้อยละ 3.81 ระบุว่า หลังจากกฎหมายลูก 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งประกาศใช้ ประมาณเดือนกรกฎาคม 2565

 

ร้อยละ 3.43 ระบุว่า หลังจากร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ ผ่านความเห็นชอบจากสภาประมาณเดือนสิงหาคม 2565

 

ร้อยละ 1.22 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

  ขณะที่ความคิดเห็นของประชาชนต่อความมั่นคงของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในขณะนี้ พบว่า

 

ร้อยละ 43.11 ระบุว่า ไม่มีความมั่นคงเลย


ร้อยละ 33.05 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความมั่นคง


ร้อยละ 16.38 ระบุว่า ค่อนข้างมีความมั่นคง


ร้อยละ 7.46 ระบุว่า มีความมั่นคงมาก

                                      “นิด้าโพล”ชี้ประชาชนส่วนใหญ่อยากให้นายกฯ“ยุบสภา”โดยเร็วที่สุด 
 

+ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ก่อนครบเทอม


วันเดียวกัน “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับพิษเศรษฐกิจ” ดังนี้


วิกฤติเศรษฐกิจ ณ วันนี้ส่งผลกระทบต่อประชาชนอย่างไรบ้าง

 

อันดับ 1 ต้องประหยัดและวางแผนการใช้จ่ายมากขึ้น 62.76%

 

อันดับ 2 สินค้าแพงขึ้น ทำให้มีรายจ่ายเพิ่มขึ้น 60.12%

 

อันดับ 3 รายได้ลดลง ขายของได้น้อยลง ไม่มีลูกค้า 59.07%

 

อันดับ 4 ชีวิตความเป็นอยู่ลำบาก ต้องกู้หนี้ยืมสิน 57.22%

 

อันดับ 5 ต้องหารายได้เพิ่ม ทำงานหนักมากขึ้น หาอาชีพเสริม 54.58%

 

ประชาชนคิดว่ามาตรการต่าง ๆ ของรัฐ เช่น คนละครึ่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ฯลฯ ช่วยลดภาระได้หรือไม่

 

ช่วยได้บ้าง 63.21%

 

ช่วยได้มาก 22.83%

 

ไม่ช่วยเลย 13.96% 

 

วิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลให้ประชาชนมีความเครียดในระดับใด

 

เครียดมาก 65.23%

 

เครียดปานกลาง 24.58%

 

เครียดน้อย 8.87%

 

ไม่เครียดเลย 1.32%

                                      “นิด้าโพล”ชี้ประชาชนส่วนใหญ่อยากให้นายกฯ“ยุบสภา”โดยเร็วที่สุด 

สิ่งที่รัฐบาลควรเร่งดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชน คือ

 

อันดับ 1 ควบคุมราคาสินค้า ลดค่าครองชีพ 89.90%

 

อันดับ 2 ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ 62.51%

 

อันดับ 3 ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว 56.19%

 

อันดับ 4 ควบคุมโควิด-19 ให้ได้เร็วที่สุด 55.05%

 

อันดับ 5 ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน 53.56%


ประชาชนคิดว่าวิกฤติเศรษฐกิจ ณ วันนี้ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลอย่างไร

 

อันดับ 1 รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ อาจยุบสภา 78.82%

 

อันดับ 2 ประชาชนไม่เชื่อมั่นรัฐบาล 76.54%

 

อันดับ 3 ต่างชาติไม่กล้าลงทุน นักธุรกิจไม่เชื่อมั่น 72.41%

 

อันดับ 4 เกิดกระแสต่อต้าน เป็นประเด็นสำคัญทำให้โดนโจมตี 70.04%

 

อันดับ 5 กู้เงินเพิ่มจำนวนมหาศาล ใช้งบประมาณจำนวนมาก 57.73%

 

ประชาชนคิดอย่างไร กับกระแสข่าวที่ว่าอาจจะมีการ “ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่” ก่อนครบเทอมรัฐบาล

 

น่าจะเป็นไปได้ 59.88%

 

ไม่น่าจะเป็นไปได้ 33.45%

 

เป็นไปไม่ได้ 6.67%

 

หากได้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ประชาชนคิดว่าเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร

 

น่าจะดีขึ้น 52.19%

 

น่าจะเหมือนเดิม 40.79%

 

น่าจะแย่ลง 7.02%