เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ดร.มานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Mana Nimitmongkol หัวข้อเรื่อง แกะรอย..โกงหรือเก่ง โดยมีเนื้อหา ดังนี้
แปลกใจทุกครั้งที่เห็นข่าวคนรับราชการแต่มีทรัพย์สินเป็นร้อยล้านบาท นายพลมีเงินเก็บหลักร้อยจนถึงพันล้านบาท ขณะที่บางคนเป็นนักการเมืองแค่ 4 – 5 ปีก็มีคฤหาสน์หลังโต มีรถเก๋งหรูขับโชว์ไปมา เคยตั้งคำถามบ่อยครั้งว่า พวกเขาเก่งหรือโกงมาจากไหนจึงรวยเร็วรวยมากได้ปานนั้น ปัญหานี้จะสามารถใช้มาตรการทางภาษีตรวจสอบได้อย่างไร และใครบ้างที่มีอำนาจดำเนินการตามกฎหมาย
สตง. ถูกยกเลิกอำนาจ
ช่วงปี 2559 – 2560 สตง. ได้สุ่มตรวจพบความผิดปรกติและแจ้งให้หน่วยจัดเก็บภาษี (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร อปท.) เรียกเก็บภาษีเข้ารัฐเพิ่มเติมได้ราวหนึ่งพันล้านบาท จาก 275 ราย
ช่วงดังกล่าวนายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธาน คตง. และนายพิสิฐ ลีลาวัชโรภาส ผู้ว่า สตง. ในขณะนั้น ได้ผลักดันเรื่องโดยใช้อำนาจตาม พ.ร.ป. การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 มาตรา 39 แต่ภายหลังเมื่อมีการออกกฎหมายใหม่ในปี 2561 อำนาจดังกล่าวได้ถูกยกเลิก มาตรการนี้จึงยุติไป
ป.ป.ช. ต้องพึ่งพากรมสรรพากร แต่ ..
ป.ป.ช. ทุกวันนี้ไม่มีมาตรการทางภาษี แต่หากกรณีใดตรวจพบสิ่งผิดปรกติก็มักส่งเรื่องให้สรรพากรตรวจสอบการเสียภาษีว่ามีรายการนั้นๆ อยู่หรือไม่ จึงชัดเจนว่ามาตรการนี้ใช้เป็นเครื่องมือยืนยันข้อมูลการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อุปสรรคก็มีอยู่บ้างเมื่อสรรพากรบางคนบางพื้นที่ไม่สนใจร่วมมือ ขณะเดียวกันก็ไม่มีการกำหนดว่า หากกรมสรรพากรตรวจพบเองว่ามีความผิดปรกติอย่างมีนัยยะเกี่ยวกับรายได้ของนักการเมืองหรือข้าราชการจะต้องแจ้งเรื่องต่อ ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบที่มาที่ไปหรือไม่
ขอยกสองกรณีตัวอย่างมาประกอบคำอธิบาย
กรณีแรก ฟาร์มเป็ดของ ส.ส. หญิงราชบุรี ซึ่งปรากฏเป็นข่าวเรื่องที่ดิน ขนาดและพื้นที่ของฟาร์ม จำนวนคนงาน ใบเสร็จค่าน้ำค่าไฟฟ้า ดังนั้นหากมีหลักฐานเกี่ยวกับภาษี 2 รายการต่อไปนี้นอกจากจะยืนยันได้ว่าเธอยื่นเสียภาษีรายได้ถูกต้องเหมือนคนอื่นๆ หรือไม่ ที่สำคัญกว่านั้นยังย้อนไปพิสูจน์ได้อีกว่าเธอ “ยื่นบัญชีทรัพย์สิน” ต่อ ป.ป.ช. ถูกต้อง เป็นจริงหรือไม่ด้วย เอกสารที่ว่าคือ
กรณีที่สองที่มาตรการทางภาษีจะช่วยแกะรอยได้คือ เมื่อพบว่าเจ้าหน้าที่รัฐรายใดมีทรัพย์สินราคาแพง หากตรวจสอบการยื่นเสียภาษีรายได้จริงจังย้อนหลังไป 3 – 5 ปี ก็จะพิสูจน์ความจริงได้ว่าสมฐานะกับรายได้ของเขาตามที่ปรากฏในการเสียภาษีหรือไม่ และจะเป็นเหตุให้สอบสวนต่อไปอีกว่า เงินทองนั้นได้มาจากไหน เป็นค่าอะไร หรืออย่างน้อยก็เล่นงานเอาผิดเรื่องหลบเลี่ยงภาษีได้
ป.ป.ช. เคยชี้มูลความผิดอดีตอัยการจังหวัดภูเก็ต จากการที่เขาได้รับ “สมาชิกสนามกอล์ฟ” จากใครบางคนเพื่อแลกกับการช่วยเหลือทางคดี นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าความร่ำรวยของเจ้าหน้าที่รัฐอาจมีได้หลายรูปแบบ
แผนปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชัน
เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2556 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ (ACT) ได้รวบรวมข้อเสนอภาคประชาชนเพื่อการปฏิรูปการต่อต้านคอร์รัปชัน รวม 6 แนวทาง 24 มาตรการ มีข้อหนึ่งระบุว่า “ให้ใช้การตรวจสอบการเสียภาษีรายได้ย้อนหลัง เป็นมาตรการในการตรวจสอบที่มาของทรัพย์สินนักการเมืองและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่” ข้อเสนอนี้ถูกเสนอไปยังรัฐบาลในขณะนั้นและรัฐบาลต่อมา รวมทั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ให้การยอมรับเป็นแนวทางเพื่อการปฏิรูปประเทศด้วย
ข้อเสนอแนะ
การยื่นชำระภาษีรายได้ต่อกรมสรรพากรเป็นสิ่งที่ต้องทำกันประจำกันอยู่แล้ว มาตรการทางภาษีจึงไม่เป็นการเพิ่มภาระให้แก่ฝ่ายใด แต่เป็นการหยิบยืมข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ระหว่างหน่วยงาน ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีช่วยให้การตรวจสอบเปรียบเทียบข้อมูลทำได้ง่าย รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร มาตรการเฝ้าระวังเช่นนี้จึงคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพในการควบคุมคอร์รัปชัน
เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเครื่องมือต่อต้านคอร์รัปชัน ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะ ดังนี้