วันนี้ (27 เม.ย.65 ) พรรคสร้างอนาคตไทยจัดการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคครั้งแรก ภายหลังจากการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในการประชุมใหญ่พรรค เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมีคณะกรรมการบริหารพรรคเข้าประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน นำโดย นายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรค นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค
นายสันติ กีระนันท์ เหรัญญิกพรรค นายนิทัศน์ ประทักษ์ใจ นายทะเบียนพรรค นายวัชระ กรรณิการ์ รองเลขาธิการพรรค และกรรมการบริหารพรรค อาทิ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ นายวิเชียร ชวลิต นายสุพล ฟองงาม และนายพินิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ เป็นต้น
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบวาระการตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง จำนวน 11 คน ในสัดส่วนต่างๆ ดังนี้
คณะกรรมการสรรหาสัดส่วนกรรมการบริหารพรรคสร้างอนาคตไทย จำนวน 5 คน ได้แก่
1. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค
2. นายสุพล ฟองงาม รองหัวหน้าพรรค / กรรมการบริหารพรรค
3. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค / กรรมการบริหารพรรค
4. นายวัชระ กรรณิการ์ รองเลขาธิการพรรค / กรรมการบริหารพรรค
5. นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรค / กรรมการบริหารพรรค
คณะกรรมการสรรหาสัดส่วนหัวหน้าสาขาพรรคสร้างอนาคตไทย จำนวน 4 คน ได้แก่
1. นายณรงค์ชัย แกหลวง หัวหน้าสาขาจังหวัดเชียงใหม่
2. นายจรงค์ หมื่นเมือง หัวหน้าสาขาจังหวัดนราธิวาส
3. นางสาวจินตนา กลั่นแก้ว หัวหน้าสาขาจังหวัดหวัดสุรินทร์
4. นายชัยพัฒน์ ตั้งแดนทอง หัวหน้าสาขาจังหวัดเพชรบุรี
คณะกรรมการสรรหาสัดส่วนตัวแทนพรรคสร้างอนาคตไทย จำนวน 2 คน ได้แก่
1. นายแดงดี แสงโยธา ตัวแทนพรรคประจําจังหวัดสกลนคร เขตเลือกตั้งที่ 4
2. นายวิฑูรย์ กวางทอง ตัวแทนพรรคประจําจังหวัดอุดรธานี เขตเลือกตั้งที่ 4
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการแต่งตั้งตำแหน่งเพิ่มเติมในส่วนของรองเลขาธิการพรรค และรองโฆษกพรรค โดยแต่งตั้งนายบุญส่ง ชเลธร เป็นรองเลขาธิการพรรคเพิ่มเติมจากนายวัชระ กรรณิการ์ อีก 1 คน
ซึ่งนายบุญส่งจะเข้ามาทำงานด้านวิชาการของพรรค และแต่งตั้งนายพงศ์พรหม ยามะรัต นางสาวโชนรังสี เฉลิมชัยกิจ และ นายธันวา ไกรฤกษ์ เป็นรองโฆษกพรรค
ทั้งนี้ นายบุญส่ง ชเลธร ปัจจุบันเป็นรองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษ สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
จบการศึกษาระดับปริญญาตรีการศึกษาเบื้องต้น จากวิทยาลัยครูสวนสุนันทา, ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
นายบุญส่ง มีชื่อเสียงมาจากการเป็นนักศึกษาที่ทำกิจกรรมทางการเมืองในช่วงปี พ.ศ. 2513-พ.ศ. 2516 ในระหว่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ในช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม2519 นายบุญส่งไปใช้ชีวิตอยู่ยังกรุงสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
เคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในเขตบึงกุ่ม ( 29 สิงหาคม 2553 ) แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง