นายรังสิมันต์ โรม โฆษกพรรคก้าวไกล เปิดหลักฐานเพิ่มเติมสืบเนื่องจากการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เปิดโปงกรณี "ไทยดำ-จีนเทา" ซึ่งพาดพิง นายอุปกิต ปาจรียางกูร ส.ว. จนรังสิมันต์ถูกอุปกิตฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท เรียกร้องค่าเสียหาย 100 ล้านบาท
โดยระบุว่า นายอุปกิต เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกรรมการของบริษัท อัลลัวร์ กรุ๊ป จำกัด (Allure Group) ซึ่งถูกเชื่อมโยงว่าเป็นบริษัทเพื่อฟอกเงินที่ได้มาโดยผิดกฎหมายของ "ทุนมินลัต" (Tun Min Latt) นักธุรกิจชาวเมียนมา
ต่อมาเมื่อมีการจับกุมทุนมินลัต อุปกิตก็รีบออกมาชี้แจงว่าได้ขายหุ้นและลาออกจากตำแหน่งกรรมการของ Allure Group และ Myanmar Allure แล้วในปี 2562 ก่อนรับตำแหน่ง ส.ว. รวมถึงโรงแรม Allure Resort ก็ขายไปแล้ว และยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรียบร้อย
แต่ครั้งนี้ ตนจะมาพูดถึงการขายหุ้นขายโรงแรมที่อุปกิตอ้างว่าทำไปแล้วก่อนมาเป็น ส.ว. ว่าจริงเท็จอย่างไร
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า เนื่องจากหนึ่งในเอกสารที่อุปกิตยื่นประกอบบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. คือเอกสารสัญญาซื้อขายอาคารและกิจการโรงแรม ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2562
เนื้อหาสัญญาระบุว่า นายอุปกิต ซึ่งเป็นผู้ขาย ทำสัญญากับ นายชาคริส กาจกำจรเดช ผู้ซื้อ ว่าตกลงซื้อขายอาคารตึกคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง ห้องพักจำนวน 78 ห้อง และกิจการโรงแรม Allure Resort และสิทธิการใช้ประโยชน์บนที่ดินอันเป็นที่ตั้งของอาคารดังกล่าว ในราคา 8,150,000 ดอลลาร์สหรัฐ ชำระเงินในเดือนสิงหาคม 2562
และตกลงกันว่าจะส่งมอบและรับมอบการครอบครองอาคารดังกล่าวในวันเดียวกันกับวันที่ทำสัญญา นอกจากนี้ อุปกิตยังแนบสำเนาหนังสือรับรองจากธนาคาร B.I.C. (CAMBODIA) BANK PLC. ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2562 รับรองบัญชีธนาคารดังกล่าว ว่ามีเงินฝากจำนวน 8,150,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ข้อสังเกตต่อเอกสารสัญญาฉบับนี้ คือสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับโรงแรม Allure Resort ตามสัญญา BOT ที่ทำกับกรมการโรงแรมฯ เมียนมานั้น ต้องเป็นของบริษัท Allure Group หรือ Myanmar Allure
ดังนั้นถ้าจะมีการขายโรงแรม Allure Resort ให้ผู้อื่นจริงๆ ก็ควรเป็นการที่อุปกิตขายหุ้นของตัวเองใน Allure Group หรือ Myanmar Allure ที่ถือสิทธิและหน้าที่ในโรงแรม ให้กับชาคริส หรือไม่ถ้าเป็นกรณีที่ Allure Group หรือ Myanmar Allure จะขายสิทธิและหน้าที่ในโรงแรมที่บริษัทถืออยู่ให้กับชาคริส ก็ควรต้องเป็นสัญญาที่ทำขึ้นในนามของบริษัทนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม ตนไม่แน่ใจว่ากรณีนี้ทำได้หรือไม่ เพราะสัญญา BOT กำหนดว่ากรมการโรงแรมฯ ต้องยินยอมด้วย
นายรังสิมันต์ กล่าวว่า แต่ปรากฏว่าสัญญาฉบับนี้กลับมีลักษณะเป็นสัญญาในนามบุคคลธรรมดา 2 คน ไม่ใช่นิติบุคคล และไม่ได้เป็นสัญญาเพื่อซื้อขายหุ้นของบริษัทใดๆ แต่เป็นการซื้อตึกโรงแรม กิจการโรงแรม และสิทธิใช้ประโยชน์บนที่ดินโรงแรม
หมายความว่า ตามสัญญานี้สิทธิในโรงแรม Allure Resort จะต้องตกเป็นของบุคคลธรรมดาที่ชื่อชาคริสคนเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้
ข้อสังเกตต่อเอกสารสัญญาฉบับนี้ คือสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับโรงแรม Allure Resort ตามสัญญา BOT ที่ทำกับกรมการโรงแรมฯ เมียนมานั้น ต้องเป็นของบริษัท Allure Group หรือ Myanmar Allure
ดังนั้นถ้าจะมีการขายโรงแรม Allure Resort ให้ผู้อื่นจริงๆ ก็ควรเป็นการที่นายอุปกิตขายหุ้นของตัวเองใน Allure Group หรือ Myanmar Allure ที่ถือสิทธิและหน้าที่ในโรงแรม ให้กับนายชาคริส หรือไม่ถ้าเป็นกรณีที่ Allure Group หรือ Myanmar Allure จะขายสิทธิและหน้าที่ในโรงแรมที่บริษัทถืออยู่ให้กับชาคริส ก็ควรต้องเป็นสัญญาที่ทำขึ้นในนามของบริษัทนั้นๆ อย่างไรก็ตาม ตนไม่แน่ใจว่ากรณีนี้ทำได้หรือไม่ เพราะสัญญา BOT กำหนดว่ากรมการโรงแรมฯ ต้องยินยอมด้วย
แต่ปรากฏว่าสัญญาฉบับนี้กลับมีลักษณะเป็นสัญญาในนามบุคคลธรรมดา 2 คน ไม่ใช่นิติบุคคล และไม่ได้เป็นสัญญาเพื่อซื้อขายหุ้นของบริษัทใดๆ แต่เป็นการซื้อตึกโรงแรม กิจการโรงแรม และสิทธิใช้ประโยชน์บนที่ดินโรงแรม
หมายความว่า ตามสัญญานี้สิทธิในโรงแรม Allure Resort จะต้องตกเป็นของบุคคลธรรมดาที่ชื่อชาคริสคนเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้
ยิ่งกว่านั้น เมื่อไปดูเนื้อหาหนังสือรับรองของ B.I.C. (CAMBODIA) BANK PLC. แม้จะระบุว่าบัญชีธนาคารที่อุปกิตอ้างมีเงินฝาก 8,150,000 ดอลลาร์ฯ จริง แต่ก็ไม่มีตรงไหนระบุว่าเป็นการจ่ายมาจากชาคริสจริงหรือไม่ นี่คือข้อสังเกตถึงความไม่ชอบมาพากลของการขายโรงแรม ที่อุปกิตอ้างต่อ ป.ป.ช.
ที่สำคัญ หลังจากนั้นเมื่อมีการสืบสวนสอบสวนคดียาเสพติดและการฟอกเงินที่เกี่ยวข้องไปถึงพนักงานของ Allure Group มีการเรียกนายชาคริสไปให้การเมื่อเดือนเมษายน 2565 ตามบันทึกคำให้การช่วงหนึ่ง นายชาคริส ให้การว่าตนถือหุ้น 15% ของโรงแรมอัลลัวร์ฯ มาตั้งแต่ปี 2558
จนกระทั่งประมาณปลายปี 2562 ตนเคยทำการตกลงซื้อกิจการโรงแรม Allure Resort จากอุปกิตในราคา 8,150,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 251,572,000 บาท แต่ไม่ได้มีการทำสัญญาซื้อขายกันจริงแต่อย่างใด เนื่องจากตนไม่มีเงินซื้อกิจการดังกล่าว ไม่รู้จะไปหามาจากไหนตั้ง 250 กว่าล้าน
และยังให้การอีกว่าต่อมาอีก 1 ปีให้หลัง ประมาณเดือนกรกฎาคม 2563 นายอุปกิตได้ตกลงขายกิจการให้กับบุคคลอื่นในราคาประมาณ 300 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายแล้วคงเหลือ 265 ล้านบาท ตนได้รับส่วนแบ่งตามจำนวนที่ถือหุ้น 15% เป็นเงินจำนวน 39,750,000 บาท
“เนื้อหาคำให้การของชาคริสครั้งนี้ เป็นการบอกว่าสัญญาซื้อขายโรงแรมที่อุปกิตทำกับชาคริสเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 และยื่นต่อ ป.ป.ช. นั้น เป็นสัญญาปลอม
นอกจากนี้คำให้การยังบอกในทางอ้อมด้วยว่า ไม่ได้มีการขายหุ้นบริษัทให้ชาคริสเพิ่มแต่อย่างใด เพราะชาคริสยังคงมีหุ้น 15% เท่าเดิม ถามว่าชาคริสให้การเท็จต่อตำรวจหรือไม่ ผมคิดว่าถ้ามีการซื้อขายเกิดขึ้นจริง ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องมาโกหกว่าไม่ได้ซื้อ”
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า ยิ่งเมื่อไปดูสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของ Allure Group เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 ก่อนวันทำสัญญา 9 พฤษภาคม 2562 แค่ 9 วัน นายชาคริสถือหุ้นอยู่ 1,500 หุ้น 15% ตามที่ให้การไว้จริง ต่อมาอีกฉบับ 30 มิถุนายน 2562 นายชาคริสก็ยังถือหุ้นอยู่ 1,500 หุ้นเท่าเดิม เป็นหลักฐานชัดๆ ว่าไม่เคยมีการขายหุ้น Allure Group ไปที่ผู้ขอสิทธิบริหารจัดการโรงแรม Allure Resort เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่หุ้นเดียว
นอกจากนี้ตามที่นายชาคริสให้การ ว่านายอุปกิตไปขายกิจการให้กับบุคคลอื่นในราคา 300 ล้านบาท เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 การขายกิจการที่ว่าคือสัญญาซื้อขายหุ้นบริษัท Allure Group ระหว่าง "ดีน ยัง จุลธุระ" ผู้ขาย ลูกเขยของนายอุปกิต กับผู้ซื้อคือ พันณรงค์ ขุนพิทักษ์ 1 ใน 3 เจ้าพ่อพนันออนไลน์รายใหญ่ของไทย
โดยมีนายอุปกิตลงนามเป็นพยานการซื้อขายครั้งนี้ด้วย ในสัญญาก็ระบุไว้ชัดเจนว่าบริษัท Allure Group ที่ซื้อขายหุ้นกันตามสัญญานี้ เป็นบริษัทที่ได้รับสิทธิในการบริหารและจัดการโรงแรม Allure Resort และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นสามัญจำนวน 6,691 หุ้นของ Myanmar Allure ซึ่งมีสิทธิครอบครองในทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบธุรกิจของ Allure Group
แสดงให้เห็นว่าสิทธิและหน้าที่ในโรงแรม Allure Resort ไม่เคยไปเป็นของนายชาคริสในฐานะบุนายอุปกิตกับนายชาคริสเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2562 เลย