"พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์" อดีตรองผบ.ตร.อาวุโสสูงสุด ที่ไปไม่ถึงฝันผบ.ตร.

28 ก.ย. 2566 | 06:55 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ย. 2566 | 08:22 น.

เปิดประวัติ ผลงานที่ผ่านมา "พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์" ก.ตร. เพียงเสียงเดียวที่โหวต "ไม่เห็นชอบ" ให้ "บิ๊กต่อ" พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล นั่งเก้าอี้ ผบ.ตร. ทราบหรือไม่เคยเป็น รองผบ.ตร.อาวุโสสูงสุด แต่ก็ไปไม่ถึงฝันเก้าอี้ ผบ.ตร.

การคัดเลือกผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร) คนที่ 14 ปรากฎว่า "บิ๊กต่อ" พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็นผู้ที่ได้เก้าอี้ ผบ.ตร.ไปครองด้วยมติเห็นชอบ 9 ต่อ 1 เสียง งดออกเสียง 2 คน น่าสนใจว่า ในจำนวนนี้มี 1 เสียงที่ "ไม่เห็นชอบ" โหวตให้ บิ๊กต่อ ในครั้งนี้

นั่นก็คือ "พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์" ที่ได้ออกมาโพสต์ข้อความให้เหตุผล เนื่องจากเห็นว่า การคัดเลือกแต่งตั้ง ผบ.ตร. ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ จนทำให้สังคมหันมาสนใจและอยากรู้จักกันขึ้นมาทันที

ประวัติ พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ 

เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2499 เป็นบุตรชายคนแรกในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน 

การศึกษา

  • จบประถมศึกษาจากโรงเรียนประชาบาลวัดนิมมานนรดี 
  • จบมัธยมต้นจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ธนบุรี 
  • จบมัธยมปลายจากโรงเรียนวัดนวลนรดิศ 
  • ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาวิทยาลัยรามคำแห่ง 
  • ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  • หลักสูตรนบ.รบ. รุ่น 7
  • เนติบัณฑิตไทย สำนักศึกษาอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา 

จบหลักสูตร วตท. รุ่นที่ 7 สถาบันวิทยาการตลาดทุน

หลักสูตรและการอบรม

  • หลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 4414 จาก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
  • หลักสูตร การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รุ่นที่ 7 จาก สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตร ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 8 จาก ศาลยุติธรรม
  • หลักสูตร ผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 7 จาก สถาบันวิทยาการตลาดทุน
  • หลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง รุ่นที่ 1 จาก สถาบันพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร
  • หลักสูตร ผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 1 จาก สถาบันวิทยาการพลังงาน
  • หลักสูตร นักบริหารการยุติธรรมทางปกครองระดับสูง รุ่นที่ 3 จากศาลปกครอง

ประวัติการรับราชการตำรวจ 

  • พ.ศ. 2520 รองสารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสงขลา
  • พ.ศ. 2524 รองสารวัตรแผนกวินัย กองกำกับการกำลังพล กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
  • พ.ศ. 2525 รองสารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรตำบลสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ
  • พ.ศ. 2528 รองสารวัตรแผนก 2 กองกำกับการสืบสวน กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
  • พ.ศ. 2530 สารวัตรแผนกวินัย กองกำกับการกำลังพล กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
  • พ.ศ. 2532 รองผู้กำกับการ 2 กองบังคับการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
  • พ.ศ. 2534 ผู้กำกับการภาควิชากฎหมาย สถาบันพัฒนาข้าราชการตำรวจ
  • พ.ศ. 2535 รองผู้บังคับการกองแผนงาน 2
  • พ.ศ. 2537 รองเลขานุการกรมตำรวจ
  • 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 ผู้บังคับการประจำกองบัญชาการศึกษา
  • 4 ตุลาคม พ.ศ. 2539 พลตำรวจตรี
  • 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 เลขานุการกรมตำรวจ
  • 2 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ผู้ช่วยผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
  • 14 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3
  • 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ผู้ช่วยผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 รองผู้บัญชาการประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 รองผู้บัญชาการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ
  • 1 มิถุนายน พ.ศ. 2547 นายตำรวจราชสำนักเวร
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่ฝ่ายอำนวยการและยุทธศาสตร์ด้านยุทธศาสตร์)
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 พลตำรวจโท
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผู้บัญชาการสำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ
  • 30 เมษายน พ.ศ. 2550 ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านกฎหมายและสอบสวน
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 พลตำรวจเอก
  • 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
  • 22 กันยายน พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โอนย้ายจากข้าราชการตำรวจเป็นเป็นข้าราชการพลเรือน และดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • 15 มีนาคม พ.ศ. 2566 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ จากการเลือกตั้ง

หลังรัฐประหาร 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ ประธานกรรมการบริหารกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

ต่อมาในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเลือก พล.ต.อ.เอก ให้โอนย้ายจากข้าราชการตำรวจในขณะดำรงตำแหน่ง "รองผบ.ตร." ซึ่งอาวุโสสูงสุด แต่ไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น "ผบ.ตร." มาเป็นข้าราชการพลเรือน และดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี คนใหม่แทน หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ซึ่งลาออกจากราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 กระทั่ง วันที่ 1 ตุลาคม 2558 พล.ต.อ.เอกได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี อย่างเป็นทางการ 

ในช่วงที่ทำหน้าที่เป็น รอง ผบ.ตร. นั้น พล.ต.อ.เอก ได้รับความไว้วางใจจาก ผบ.ตร. ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบความเรียบร้อยของสถานีตำรวจทั่วประเทศ จนได้รับฉายา "มิสเตอร์คลีน" เนื่องจากมีหลายครั้งที่การลงพื้นที่พบว่า สถานีตำรวจไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยจึงได้รายงานให้ ผบ.ตร. ทราบ หลังจากนั้นก็จะมีการสั่งย้ายหัวหน้าสถานีตำรวจแห่งนั้นทันทีเพื่อเป็นแบบอย่างให้สถานีตำรวจแห่งอื่น ใส่ใจดูแลภาพลักษณ์และความเป็นอยู่ของตำรวจด้วยกัน รวมถึงทำให้ประชาชนรู้สึกอุ่นใจ สบายตาเวลามารับบริการที่สถานีตำรวจ 

ข้อมูล วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี