"ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี" เป็นตำแหน่งข้าราชการการเมือง ทำหน้าที่เปรียบเหมือนเป็น "กุนซือ" ให้กับนายกฯ มีหน้าที่ให้คำปรึกษา และข้อแนะนำต่างๆแก่นายกฯ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 ระบุให้นายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ในตำแหน่ง "ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี" ได้ทั้งสิ้น 5 คน ซึ่งแตกต่างจากตำแหน่ง "ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี" ซึ่งไม่ใช่ข้าราชการการเมือง
โดยเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติแต่งตั้ง นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และได้มีมติแต่งตั้งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีเพิ่มอีก 4 คน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566 ได้แก่ นายชัยเกษม นิติสิริ ,พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ,นายพิชัย นริพทะพันธุ์ และนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 กำหนด ค่าตอบแทนตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีรวม 72,660 บาท แบ่งเป็น
ที่ปรึกษานายกฯ ทั้ง 5 คน ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยมติ ครม. ในรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นอกจากทำหน้าที่ให้ข้อแนะนำ และข้อคิดเห็นแก่นายกฯแล้ว ฐานเศรษฐกิจได้รับการเปิดเผยจากแหล่งข่าวว่า ที่ปรึกษานายกฯแต่ละคน ยังได้รับการมอบหมายงานจากนายกฯ เพื่อดูแลในแต่ละด้านเป็นการเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร รับมอบหมายให้ดูรายละเอียด และให้คำปรึกษาในการจัดทำงบประมาณประจำปี
ประวัติการทำงาน
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายชัยเกษม นิติสิริ รับมอบหมายให้ดูรายละเอียด และให้คำปรึกษา ด้านการแก้ไข จัดทำรัฐธรรมนูญ
ประวัติการทำงาน
พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก รับมอบหมายให้ดูรายละเอียด และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการค้าชายแดน
ประวัติการทำงาน
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รับมอบหมายให้ดูรายละเอียด และให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจ
ประวัติการทำงาน
นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ รับมอบหมายให้ดูรายละเอียด และให้คำปรึกษา เกี่ยวกับความเป็นอยู่ ข้อเรียกร้อง ตลอดจนข้อร้องเรียนของมวลชน และประชาชน
ประวัติการทำงาน
ทั้งนี้ การทำงานของคณะ "ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี" 5 คน และ "ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี" จะมีการประชุมร่วมกันทุกวันพุธที่ 1 และ3 ของเดือน ณ บ้านพิษณุโลก เพื่อระดมความคิดเห็น ในการเสนอแนวทางให้แก่นายกรัฐมนตรี